ไฮโดรเจน
ไฮโดรเจน

ไฮโดรเจน

ไฮโดรเจน (อังกฤษ: Hydrogen; ละติน: hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ[7] ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลกไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัมมีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง ค.ศ. 1766-81 เฮนรี คาเวนดิชเป็นคนแรกที่สังเกตพบว่า แก๊สไฮโดรเจนเป็นสสารชนิดหนึ่งต่างหาก[8] และจะให้น้ำเมื่อนำไปเผาไหม้ ซึ่งคุณสมบัตินี้เองที่ได้กลายมาเป็นชื่อของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นภาษากรีก หมายถึง "ตัวก่อให้เกิดน้ำ" ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ไฮโดรเจนไร้สี ไร้กลิ่น เป็นอโลหะ ไร้รส ไม่มีพิษ และเป็นแก๊สไดอะตอมที่ไวไฟสูง มีสูตรโมเลกุลว่า H2การผลิตไฮโดรเจนในเชิงอุตสาหกรรมมาจากการนำแก๊สธรรมชาติมาผ่านกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ (steam reforming) เป็นหลัก และจากวิธีการผลิตไฮโดรเจนที่ต้องใช้พลังงานสูงกว่า เช่น การแยกน้ำด้วยไฟฟ้า[9] ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ใช้สอยกันใกล้จุดผลิต กระบวนการเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (นั่นคือไฮโดรแครกกิง) และการผลิตแอมโมเนีย ซึ่งส่วนใหญ่สำหรับตลาดปุ๋ย เป็นภาคที่มีการใช้ไฮโดรเจนมากที่สุดไฮโดรเจนเป็นความกังวลหนึ่งในโลหะวิทยา เพราะไฮโดรเจนสามารถทำให้โลหะหลายชนิดเปราะได้[10] ซึ่งทำให้เป็นการยากขึ้นในการออกแบบสายท่อและถังเก็บ[11]

ไฮโดรเจน

การออกเสียง /ˈhdrəən/ hy-drə-jən[1]
หมู่ คาบและบล็อก 1, 1, s
โครงสร้างผลึก เฮกซะโกนัล

มวลอะตอมมาตรฐาน 1.008(1)
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 120 pm
เลขทะเบียน CAS 1333-74-0
สี ไม่มีสี
สถานะ แก๊ส
จุดหลอมเหลว 13.99 K, -259.16 °C, -434.49 °F
ความหนาแน่น (0 °C, 101.325 kPa)
0.08988 g/L
ความเป็นแม่เหล็ก ไดอะแมกเนติก[6]
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดหลอมเหลว 0.07 (ของแข็ง 0.0763)[5] g·cm−3
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
1H99.985%H เสถียร โดยมี 0 นิวตรอน
2H0.015%H เสถียร โดยมี 1 นิวตรอน
3Htrace12.32 yβ−0.018613He
พลังงานไอออไนเซชัน  : 1312.0 kJ·mol−1
สถานะออกซิเดชัน 1, -1
(amphoteric oxide)
ความเร็วเสียง (แก๊ส, 27 °C) 1310 m·s−1
ความร้อนของการหลอมเหลว (H2) 0.117 kJ·mol−1
ความร้อนของการกลายเป็นไอ (H2) 0.904 kJ·mol−1
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดเดือด 0.07099 g·cm−3
จุดร่วมสาม 13.8033 K, 7.041 kPa
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม ไฮโดรเจน, H, 1
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.20 (Pauling scale)
รัศมีโควาเลนต์ 31±5 pm
จุดวิกฤต 32.938 K, 1.2858 MPa
การค้นพบ เฮนรี คาเวนดิช[2][3] (1766)
การจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s1
1
ชั้นพลังงานอิเล็กตรอนของไฮโดรเจน (1)
ความจุความร้อนโมลาร์ (H2) 28.836 J·mol−1·K−1
ตั้งชื่อโดย อองตวน ลาวัวซิเอ[4] (1783)
จุดเดือด 20.271 K, -252.879 °C, -423.182 °F
สภาพนำความร้อน 0.1805 W·m−1·K−1
อนุกรมเคมี อโลหะวาเลนซ์เดียว

ใกล้เคียง

ไฮโดรเจน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรเจนโบรไมด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แบบไอระเหย ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไฮโดรเจนเหลว ไฮโดรเจนแอสทาไทด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮโดรเจน http://americanhistory.about.com/od/hindenburg/a/h... http://books.google.com/?id=-CRRJBVv5d0C&pg=PA402 http://books.google.com/?id=ugniowznToAC&pg=PA240 http://books.google.com/books?id=vEwj1WZKThEC&pg=P... http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyP... http://www.dtu.dk/English/About_DTU/News.aspx?guid... http://spot.colorado.edu/~dziadeck/zf/LZ129fire.ht... http://adsabs.harvard.edu/abs/1968Sci...159.1057R http://www.usm.maine.edu/~newton/Chy251_253/Lectur... http://www.fsec.ucf.edu/en/consumer/hydrogen/basic...