เอกลักษณ์เด่น ของ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์

ขบวนพาเหรด

ตามธรรมเนียมก่อนเข้าสู่การแข่งขัน จะมีการเดินพาเหรดขบวนล้อการเมือง โดยกลุ่มอิสระล้อการเมือง ม.ธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นสิ่งแสดงความคิดความอ่านทางการเมืองของนักศึกษาที่จะต้องโตขึ้นไปอยู่ในสังคมที่ถูกขับเคลื่อนโดยแรงขับทางการเมือง ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ดังนั้น การทำล้อการเมืองแสดงผ่านหุ่น ผ่านข้อความในป้ายผ้า เป็นบทกลอน จะสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลากหลายคณะในมหาวิทยาลัยจากการเรียนในวิชาต่างๆ ออกมาเป็นตัวหุ่น เป็นป้ายผ้า ซึ่งล้อการเมืองมีมาทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นในยุครัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากกว่าหลายล้านเสียงก็ตาม ตรงนี้ล้อการเมืองก็ยังอยู่มาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของการล้อที่ไม่ว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร ล้อการเมืองจะไม่ขาดช่วงไปจากสังคมไทย[6]

ในขณะที่ขบวนสะท้อนสังคม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบโดยกลุ่มสะท้อนสังคม เป็นการนำปัญหาของสังคมที่เกิดในรอบปี โดยการนำเสนอผ่านงานศิลปะ อาทิตัวหุ่น และป้ายผ้า ซึ่งการสะท้อนสังคมเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่สามารถทำได้ในฐานะนิสิต โดยเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีถูกผิด เพียงแค่ต้องอยู่ในกรอบเท่านั้น[7]

ทั้งขบวนล้อการเมือง และขบวนสะท้อนสังคม มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคม โดยนำเสนอภายใต้ขอบเขต ซึ่งจะไม่โจมตีไปที่ใครคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้นิสิต-นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และร่วมกันหาทางแก้ไขเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว

การอัญเชิญพระเกี้ยว

การอัญเชิญพระเกี้ยวปรากฏหลักฐานครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สยามนิกร (พิเศษ) ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยมีนิสิตหญิง 1 คน เป็นผู้อัญเชิญ โดยการอัญเชิญพระเกี้ยวเข้ามาสู่สนามการแข่งขันเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์ โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นนิสิตชาย 1 คน และ นิสิตหญิง 1 คน เพื่อเป็นตัวแทนบรรดานิสิตอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสู่สนามแข่งขัน ถึงแม้ว่านิสิตทุกคนต่างมีฐานะเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว[8] แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถให้ทุกคนเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวได้ จึงต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวแทนนิสิตเพื่อทำหน้าที่นี้[9]






ประธานเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือฝั่งจุฬาจะเรียกว่า "ประธานเชียร์" นอกจากจะทำหน้าที่นำเชียร์ ควบคุมจังหวะการร้องเพลงเชียร์ของสแตนด์แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนิสิตจุฬา ในการประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณีฯ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณะอีกด้วย ในระยะแรกนั้นผู้นำเชียร์หรือประธานเชียร์จะเป็นผู้ให้จังหวะปรบมือแก่กองเชียร์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงท่าทางของผู้นำเชียร์ขึ้นใหม่ โดยเน้นหลักการสำคัญของผู้นำเชียร์แห่งจุฬาฯ นั้น มี 5 ประการ ได้แก่ การให้จังหวะ การควบคุมกองเชียร์ ความสวยงาม ความพร้อมเพรียง และรูปแบบในการนำเสนอ มีการแต่งตัวให้สวยงาม สร้างสีสันให้กับสแตนด์เชียร์ การสรรหาผู้นำเชียร์ฯ จากการเปิดรับสมัครคัดเลือกอย่างเป็นทางการจากนิสิตทั่วไป ไม่จำกัดคณะและชั้นปี ในแต่ละปีนั้นมีจำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของผู้สมัครในปีนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วมักมีจำนวนเฉลี่ยรุ่นละ 11-13 คน

จุฬาฯคทากร

จุฬาฯคทากรมีหน้าที่หลักคือ การเดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังมีหน้าที่แสดงควงคทาประกอบเพลงประจำมหาวิทยาลัยอีกด้วย


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

อัฒจันทร์ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขณะกำลังแปรอักษรว่า "รัก CU นะ"

ในอดีตผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักร ถ้วยพระราชทาน ป้ายนามมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และดรัมเมเยอร์ ได้มาจากการคัดเลือกเช่นเดียวกับการอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาในปี พ.ศ. 2516 ประเพณีการคัดเลือกก็ได้งดไป เนื่องจากถูกมองว่าเป็นความฟุ่มเฟือยและเกิดเป็นที่มาของคำขวัญว่า "ธรรมจักรเป็นของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน ทุกคนจึงมีสิทธิในการอัญเชิญได้" จึงคงไว้เพียงขบวนอัญเชิญธรรมจักรและรับสมัครทุกคนที่สนใจร่วมแบกเสลี่ยงอัญเชิญโดยไม่มีผู้แทน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ฟื้นฟูผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์และทำหน้าที่ในการบำเพ็ญประโยชน์ ตลอดจนการรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกันมากขึ้นกลับมา ในชื่อว่า "ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" โดยเริ่มตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา หน้าที่ของทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์คือเป็นตัวแทนนักศึกษาในการนำขบวนพาเหรดทั้งหมดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าสู่สนาม โดยเป็นผู้อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ถ้วยพระราชทาน อัญเชิญพานพุ่มนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์ รวมถึงการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การคัดเลือกทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะพิจารณาถึงทั้งลักษณะ บุคลิก ความรู้ความสามารถ ทั้งในด้านการเรียน และในความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การมีจิตอาสา มีคุณธรรมและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก่สังคม

แม่ทัพเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือฝั่งธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "แม่ทัพเชียร์" เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้านำกองเชียร์ร้องเพลงส่งเสียงเชียร์ ประกอบรหัส สัญญาณ การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมเพรียง ความสวยงาม และความสนุกสนานของการเชียร์และแปรอักษร โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวคิดและต้นแบบแรงบันดาลใจจาก ผู้ควบคุมวงดนตรีหรือวาทยากร ที่ทำหน้าที่นำการเล่นดนตรีวงใหญ่หรือการร้องประสานเสียง ผู้นำเชียร์นั้นนอกจากจะมีท่วงท่าสง่างาม ยังมีรหัสสัญญาณมือที่สื่อความหมายสามารถประยุกต์ใช้กับการร้องเพลงเป็นหมู่คณะของกองเชียร์

บรรยากาศพิธีเปิดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 71

เพลงประจำการแข่งขัน

เพลงพระราชนิพนธ์ของทั้งสองมหาวิทยาลัยเพลงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองเพลงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์

เพลงจามจุรีประดับโดมในดวงใจ คือการนำเพลงของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาร่วมกันคือเพลงจามจุรีประดับใจ และเพลงโดมในดวงใจ

เพลงชั่วดินฟ้า เป็นเพลงของจุฬา และธรรมศาสตร์บอกถึงความรักความสามัคคีของทั้งสองสถาบันนี้

เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคีแต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์

เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา ภาราดรณ์

ไม่ปรากฏผู้แต่ง ]]

ใกล้เคียง

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน งานฟุตบอลประเพณี งานบุญกลางบ้าน งานชุมนุมที่มอสโก พ.ศ. 2565 งานบุญบั้งไฟ งานธุรกิจ งาน (ฟิสิกส์) งานชุมนุมลูกเสือโลก ผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ http://facebook.com/CUcoronet/ http://facebook.com/tuambassador/ http://www.facebook.com/CUCheerleaderFC/ http://www.facebook.com/TUCheerleaderFC/ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.thaitribune.org/contents/detail/378?con... http://www.cuaa.chula.ac.th/activities/cu-tu-footb... http://www.memocent.chula.ac.th/article/%E0%B8%9F%... http://www.memocent.chula.ac.th/article/%E0%B8%AD%... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...