การแบ่งภูมิภาค ของ ทวีปเอเชีย

อนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย:

ทวีปเอเชียนอกจากจะเป็นอนุภูมิภาคของยูเรเชีย ยังอาจแบ่งออกเป็นส่วนย่อยดังนี้

เอเชียเหนือ

ดูบทความหลักที่: เอเชียเหนือ และ ประเทศรัสเซีย

นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึงรัสเซีย เรียกอีกอย่างว่าไซบีเรีย บางครั้งรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของเอเชียด้วย เช่น คาซัคสถาน

เอเชียกลาง

ดูบทความหลักที่: เอเชียกลาง
แผนที่ของเอเชียกลาง

เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่จากประเทศต่าง ๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,021,431 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน (กุมภาพันธ์ 2553) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (เฉลี่ยทั้งภูมิภาค 15 คนต่อตารางกิโลเมตร) และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้า ๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางเป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่มบริเวณทะเลแคสเปียน ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

ธงชาติประเทศเมืองหลวงพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร (พ.ศ. 2560)
คาซัคสถานนูร์-ซุลตัน2,724,90017,987,736
เติร์กเมนิสถานอาชกาบัต488,1005,662,544
อุซเบกิสถานทาชเคนต์447,40031,446,795
คีร์กีซสถานบิชเคก194,5005,955,734
ทาจิกิสถานดูชานเบ143,1008,734,951

เอเชียตะวันออก

ดูบทความหลักที่: เอเชียตะวันออก
แผนที่ของเอเชียตะวันออก

เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15 และ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605 หรือร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7 คนต่อตารางกิโลเมตร

นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ นะงะซะกิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินช็อน เทียนสิน ฮ่องกง เป็นต้น

ธงชาติประเทศเมืองหลวงพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร (พ.ศ. 2560)
จีนปักกิ่ง9,671,0181,403,500,365
ญี่ปุ่นโตเกียว377,944127,748,513
ไต้หวันไทเป36,19123,556,706
เกาหลีเหนือเปียงยาง120,54025,368,620
เกาหลีใต้โซล100,14050,791,919
มองโกเลียอูลานบาตาร์1,564,1163,027,398
ฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษของ จีน)-1,1047,302,843
มาเก๊า (เขตบริหารพิเศษของ จีน)-29612,167

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดูบทความหลักที่: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ 4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐชาน เทือกเขาอาระกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)

โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปูตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ภูเก็ต เป็นต้น

ธงชาติประเทศเมืองหลวงพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร (พ.ศ. 2560)
อินโดนีเซียจาการ์ตา1,904,569261,115,456
พม่าเนปยีดอ678,00052,885,223
ไทยกรุงเทพมหานคร514,00068,863,514
เวียดนามฮานอย337,91294,569,072
มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์329,75831,187,265
ฟิลิปปินส์มะนิลา300,000103,320,222
ลาวเวียงจันทน์236,8006,758,353
กัมพูชาพนมเปญ181,03515,762,370
บรูไนบันดาร์เซอรีเบอกาวัน5,765423,196
สิงคโปร์สิงคโปร์7125,622,455
ติมอร์-เลสเตดิลี15,0101,268,671

เอเชียใต้

ดูบทความหลักที่: เอเชียใต้ และ อนุทวีปอินเดีย
แผนที่เอเชียใต้

เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน)

ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น

ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย

ธงชาติประเทศเมืองหลวงพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร (พ.ศ. 2560)
อินเดียนิวเดลี3,287,2401,324,171,354
ปากีสถานอิสลามาบาด803,940193,203,476
อัฟกานิสถานคาบูล647,50034,656,032
บังกลาเทศธากา147,570162,951,560
เนปาลกาฐมาณฑุ147,18128,982,771
ศรีลังกาศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ65,61020,798,492
ภูฏานทิมพู48,394797,765
มัลดีฟส์มาเล300427,756

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลก คือ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินแดนแถบนี้จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศในแถบนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังให้กำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าดินแดนแถบนี้จะแห้งแล้ง แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปแอฟริกาทางด้านตะวันตก และทวีปยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่น ที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงอานาโตเลีย) นอกจากนี้ ยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรอาหรับ

ลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน (โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก) ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ตุรกี

ตุรกี ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย อิสราเอล ปาเลสไตน์ และอาเซอร์ไบจาน อาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปในบางครั้ง เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่าทวีปเอเชีย

ธงชาติประเทศเมืองหลวงพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร (พ.ศ. 2560)
ซาอุดีอาระเบียรียาด1,960,58232,275,687
อิหร่านเตหะราน1,648,19580,277,428
ตุรกีอังการา783,56279,512,426
เยเมนซานา527,09027,584,213
อิรักแบกแดด438,31737,202,572
โอมานมัสกัต236,8002,569,804
ซีเรียดามัสกัส185,18018,430,453
จอร์แดนอัมมาน89,3429,455,802
อาเซอร์ไบจานบากู86,6009,725,376
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อาบูดาบี82,8809,269,612
จอร์เจียทบิลิซี69,7003,925,405
อาร์มีเนียเยเรวาน29,7432,924,816
อิสราเอลเยรูซาเลม20,7708,191,828
คูเวตคูเวตซิตี17,8204,052,584
กาตาร์โดฮา11,4372,569,804
เลบานอนเบรุต10,4526,006,668
ไซปรัสนิโคเซีย9,2511,170,125
ปาเลสไตน์รอมัลลอฮ์6,2204,790,705
บาห์เรนมานามา6651,425,171

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทวีปเอเชีย http://accessscience.com/abstract.aspx?id=054800&r... http://www.bharat-rakshak.com/SRR/Volume14/nalapat... http://www.economist.com/diversions/millennium/dis... http://www.economist.com/surveys/displaystory.cfm?... http://search.ft.com/ftArticle?queryText=China+the... http://dictionary.reference.com/browse/Asia http://www.theoi.com/Nymphe/NympheAsie.html http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.eric.ed.gov/ERICWebPortal/custom/portle... http://www.indianscience.org/essays/22-%20E--Gems%...