การเมือง ของ ประเทศอาเซอร์ไบจาน

รูปแบบการปกครอง

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญรับรองโดยประชาชนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995สถาบันการเมือง• ฝ่ายนิติบัญญัติ - ระบบสภาเดียว (Unicameral) คือ “ Milli Mejlis” หรือ สภาแห่งชาติ(National Assembly) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 125 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (ผลจากการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมค.ศ. 2002) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2010• ฝ่ายบริหาร - ประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศ (Chief of State) มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยการเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003 โดยนาย Ilham Aliyev ได้รับเลือกตั้งเป็นปธน.อาเซอร์ไบจาน ในปีค.ศ.2003 ต่อจากบิดา คือ ปธน. Heydar Aliyev ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ท่ามกลางการกล่าวหาว่า รับตำแหน่งอย่างไม่โปรงใส่ ทั้งจากฝ่ายค้านและองค์การระหว่างประเทศ - นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) โดยการแต่งตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา

ภาพรวมของสถานการณ์การเมืองอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 อาเซอร์ไบจานประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 โดยนายAyaz Mutalibov ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอาเซอร์ไบจานดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอาเซอร์ไบจานจำนวนมากถูกสังหารในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค (ดินแดนของอาเซอร์ไบจานซึ่งมีชาวอาร์มีเนียจำนวนมากอาศัยอยู่) ต่อมาในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1992 นาย Abulfez Elchibey ผู้นำพรรค Popular Front Party (PFP) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่ก็ไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจรวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงก่อให้เกิดความไม่ พอใจในหมู่ประชาชนจนเกิดการจลาจลสู้รบขึ้นในประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี Elchibey ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่เมือง Nakchivan และต่อมารัฐสภาได้แต่งตั้งให้นาย Heydar Aliyev ประธานรัฐสภาในขณะนั้น เป็นผู้รักษาการประธานาธิบดี ซึ่งต่อมานาย Aliyev ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค New Azerbaijan Party ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1992 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอาเซอร์ไบจานเรื่อยมา สถานการณ์ทางการเมืองของอาเซอร์ไบจานกล่าวได้ว่า อำนาจในการปกครองประเทศเกือบทั้งหมดอยู่ในการควบคุมของประธานาธิบดี Heydar Aliyev ซึ่งควบคุมคะแนนเสียงข้างมากในสภาและสมาชิกของพรรคฯ ได้รับตำแหน่งสำคัญๆ ในรัฐบาล อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาที่สั่นคลอนเสถียรภาพของ รัฐบาลหลายประการ อาทิ ปัญหาทางการเมืองภายในกับฝ่ายค้านที่พยายามจะแย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งสมัยต่อไป ปัญหาภายในพรรครัฐบาล ข้อกล่าวหาว่ายักยอกเงินกองทุนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้อพยพจากการสู้รบกับอาร์มีเนียคาราบัค ปัญหาเรื่องความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค การเดินขบวนประท้วงในกรุงบากูเพื่อสนับสนุนฝ่ายค้านและต่อต้านการผูกขาดอำนาจในการบริหารประเทศของ ประธานาธิบดี Aliyev การฉ้อราษฎร์บังหลวง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้สื่อของรัฐในการหาเสียงเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง เป็นต้น

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การเลือกตั้งทั่วไปอาเซอร์ไบจานได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดขึ้นเมื่อปี 2005 ผลคือ seats by party - Yeni 58, Azadliq coalition 8, CSP 2, YES 2, Motherland 2, other parties with single seats 7, independents 42, undetermined 4 การเลือกตั้งจะมีครั้งต่อไปปี 2014

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย Ilham Heydar oglu Aliyev นายกรัฐมนตรีและบุตรชายของอดีตประธานาธิบดี Heydar Aliyev ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 76.84 ในขณะที่นาย Isa Bambar ผู้สมัครคู่แข่ง ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 10.74 จากจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 8 ราย โดยสาเหตุที่นาย Ilham Aliyev ได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมาก เนื่องมาจากนาย Heydar Aliyev ซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคหัวใจและอยู่ระหว่างรับการรักษาที่สหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้ เพื่อถ่ายโอนคะแนนนิยมให้แก่บุตรชาย ทั้งนี้ นาย Ilham Aliyev อายุ 41 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานพรรค Yeni Azerbaijan นอกจากนี้ นาย Ilham ยังดำรงตำแหน่งรองประธานหมายเลข 1 ของบริษัทน้ำมันของรัฐ และประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ อย่างไรก็ดี ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงผลการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างรุนแรง ประชาชน 60 คน ได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ของรัฐ 112 ราย ได้รับบาดเจ็บ และผู้สื่อข่าวหลายรายถูกทำร้าย รัฐบาลอาเซอร์ไบจานจึงได้ดำเนินการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 625 ราย

การอสัญกรรมของประธานาธิบดี Heydar Aliyevนาย Haidar Aliyev อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ด้วยอายุ 80 ปี ภายหลังการเดินทางเข้ารับการรักษาอาการหัวใจล้มเหลวและโรคไตที่ Cleveland Clinic Foundation ในสหรัฐฯ นับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2003

สถานการณ์ในดินแดนนากอร์โน-คาราบัคนากอร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ในอดีตเป็นดินแดนปกครองตนเองของสหภาพโซเวียต ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1923 สหภาพ โซเวียตได้มอบดินแดนนี้ให้แก่อาเซอร์ไบจาน ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และให้ชาวอาเซอรีเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว โดยให้ใช้ภาษาอาร์มีเนียเป็นภาษาหลัก นับตั้งแต่ผู้นำท้องถิ่นของชาวอาร์มีเนียในนากอร์โน-คาราบัค ประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจาน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1988 จนถึงปัจจุบัน การประกาศเอกราชดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและอาเซอร์ไบจานถือว่านากอร์โน-คาราบัค เป็นดินแดนกบฏที่ได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นพร้อมๆ กับนโยบายปฏิรูป “Perestroika” ของสหภาพโซเวียตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เมื่อสภาท้องถิ่นของเมือง Stepanakert เมืองหลวงของนากอร์โน-คาราบัค มีมติให้นากอร์โน-คาราบัคประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจานเพื่อไปรวมตัวกับอาร์มีเนีย รัฐบาลอาเซอร์ไบจาน จึงได้ส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสถานการณ์ในดินแดนดังกล่าวไว้ เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยมาจนอาเซอร์ไบจานสามารถเข้ายึดพื้นที่เกือบทั้งหมดของคาราบัคและเมืองหลวง Stepanakert ระหว่างปีค.ศ. 1991-1992 ต่อมารัฐบาลอาร์มีเนียได้ส่งกำลังเข้ารุกรานอาเซอร์ไบจานเพื่อช่วยเหลือกองกำลังคาราบัคระหว่างปีค.ศ. 1993-1994 จนในที่สุดกองกำลังคาราบัคสามารถยึดครองดินแดนส่วนหนึ่งเท่ากับประมาณ 20 % ของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน และขับไล่ชาวอาเซอรีประมาณ 600,000 คน ออกจากพื้นที่ สงครามต่อสู้แย่งดินแดนดังกล่าวมีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 25,000 คน และมีผู้อพยพจากภัยสงครามอีกเป็นจำนวนมาก ในที่สุดสงครามระหว่างเชื้อชาติที่ดำเนินมา 6 ปี ได้ยุติลงชั่วคราวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1994 เมื่ออาเซอร์ไบจานกับอาร์มีเนียได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงหยุดยิงโดยความช่วยเหลือของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายก็ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอย่างแท้จริง ยังคงมีการยิงสู้รบระหว่างกันเป็นระยะๆ ล่าสุดในการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดี Aliyev แห่งอาเซอร์ไบจานกับประธานาธิบดี Robert Kocharyan แห่งอาร์มีเนีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มเครือรัฐเอกราชที่กรุงมอสโกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1998 ผู้นำทั้งสองได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะยุติความขัดแย้งเหนือดินแดนนากอร์โน-คาราบัค โดยทั้งสองฝ่ายเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงยุติการยิงที่ทำขึ้นในปีค.ศ. 1994 และให้ดำเนินกระบวนการเพื่อสันติภาพภายใต้กรอบของกลุ่ม Minsk ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือแห่งยุโรป (OSCE) ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และรัสเซีย จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค คือทำให้ชาวอาเซอรีกว่าร้อยละ 10 ของประชากรของอาเซอร์ไบจานต้องกลายเป็นผู้อพยพ อาศัยอยู่ตามค่ายอพยพต่างๆ และก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นภายในประเทศอีกด้วย นอกจากนั้น การที่อาเซอร์ไบจานกับตุรกีดำเนินการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่อนากอร์โน-คาราบัค และอาร์มีเนีย โดยการปิดชายแดนและเส้นทางรถไฟสายหลัก 3 สาย ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจของอาร์มีเนียตกต่ำลงอย่างมาก และยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันที่ต่างวิตกว่าเส้นทางท่อขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนอาจถูกผลกระทบจากการสู้รบที่อาจจะปะทุขึ้นได้อีก นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งดังกล่าวขึ้น สหประชาชาติก็ได้มีความพยายามในการที่จะระงับ กรณีพิพาทนี้ โดยให้องค์การ OSCE เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งกระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งผู้นำอาร์มีเนียได้ปฏิเสธแผนของ OSCE ที่ขอให้อาร์มีเนียถอนกองกำลังออกจากบริเวณนอกเขตนากอร์โน-คาราบัค ที่เป็นพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ของอาเซอร์จาน ในขณะเดียวกัน องค์การ OSCE ยังได้เรียกร้องให้นากอร์โน-คาราบัคได้รับอำนาจปกครองตนเองอย่างเต็มที่ ภายใต้อาณาเขตของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย ได้ออกมาปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่จะทำให้ดินแดนนากอร์โน-คาราบัค ต้องกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง ตลอดเวลา 10 ปี ของสงครามระหว่างเชื้อชาติ อาเซอร์ไบจานตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบและได้กล่าวหาว่ารัสเซียเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการทหารแก่ประเทศอาร์มีเนีย ซึ่งคอยช่วยเหลือชาวอาร์มีเนียในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค และการที่อาเซอร์ไบจานทำการปิดกั้นทางเศรษฐกิจต่ออาร์มีเนียและนากอร์โน-คาราบัค ทำให้สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการจำกัดการให้ความช่วยเหลือแก่อาเซอร์ไบจานภายใต้มาตรา 907 ของ Freedom Support Act เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 ประธานาธิบดี Aliyev ได้พบกับประธานาธิบดี Kocharyan ของอาร์มีเนีย เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหานากอร์โน-คาราบัคโดยสันติ แต่ไม่ปรากฏผลคืบหน้าแต่อย่างใดอนึ่ง นับตั้งแต่ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจากอาเซอร์ไบจานในปี ค.ศ. 1991 นากอร์โน-คาราบัคได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2001โดยนาย Arkady Gukasian ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง