สิ่งก่อสร้างสำคัญ ของ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ศาลาสี่สมเด็จ

ศาลาสี่สมเด็จ เป็นศาลาจตุรมุขพื้นศิลา หลังคาประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนีอีก 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยพระองค์พระราชทานนามศาลาแห่งนี้ว่า ศาลาสี่สมเด็จ ไว้เป็นที่พักผ่อนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร[5] ปัจจุบัน ศาลาสี่สมเด็จใช้เป็นหอกลอง

บริเวณหน้าบันทั้ง 4 ด้านของศาลาสี่สมเด็จได้จำหลักลายไทยเป็นตราประจำพระองค์ของแต่ละพระองค์ไว้ ได้แก่ ตราพระเกี้ยว พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราจันทรมณฑล ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ ตราจักร ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ ตราสุริโยทัย ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช[6]

พระที่นั่งทรงธรรม

เป็นตึก ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนตลอด พื้นชั้นล่างและบันไดปูหินอ่อน ชั้นบนปูไม้ หลังคา ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าใบระกาลงรักปิดทองทึบ หน้าบันทั้ง ๔ ด้าน จำหลักภาพต่าง ๆ ปิดทองประดับกระจก ภายในผนังเสมอกรอบหน้าต่าง ประกบแผ่นหินอ่อนสีขาว เสาเขียนลายรดน้ำเทพนม ตั้งธรรมาสน์กลางห้อง ด้านใต้กั้นพระฉากดีบุกฉลุลายไทยเทพนมและกุมภัณฑ์ เพื่อเป็นที่ประทับของฝ่ายใน พระที่นั่งทรงธรรมนี้ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี" ทรงสร้างอุทิศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ใช้เป็นที่ประทับแรมเวลาทรงธรรมรักษาอุโบสถศีล ต่อมาได้เคยใช้เป็นที่ประชุมสังฆมนตรี, ที่ศึกษาพระปริยัติธรรม จัดงานประจำปีของวัด ตั้งพระศพและศพบุคคลสำคัญของชาติ ในเวลาตั้งพระศพศาลาแห่งนี้มีศักดิ์เป็นรองจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เช่น พระศพของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) ศพจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นต้น ปัจจุบันคงใช้ในกิจกรรมของวัด และตั้งพระศพหรือศพบุคคลสำคัญ[7]

หอระฆังบวรวงศ์

หอระฆังบวรวงศ์ เป็นหอระฆังทรงไทยประกอบหินอ่อน สร้างขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ใในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และข้าราชการ ระฆังภายในหอนั้นนำมาจากวัดบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวังบวรสถานมงคล หน้าบันของหอระฆังจำหลักลายไทยประกอบภาพตราประจำตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยหน้าบันทิศตะวันตกเป็นภาพ "พระลักษณ์ทรงหนุมาน" ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งองค์เดิม ส่วนหน้าบันทิศตะวันออก เป็นภาพ "พระนารายณ์ทรงปืน" ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งองค์ที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่[8] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเปิดและฉลองหอระฆังเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2445 พร้อมทั้งพระราชทานามว่า หอระฆังบวรวงศ์[9]

สถานที่อื่น ๆ

บริเวณด้านหน้าทางเข้าพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในยามกลางคืนบริเวณด้านหน้าทางเข้าพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในยามเย็น
  • พระอุโบสถ เป็นแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา ๔ ชั้น ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ ๕ ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลังด้านหน้าพระอุโบสถ มีกำแพงแก้ว บนมุมกำแพงแก้วซ้าย-ขวา มีเสาคอนกรีตหัวเสาเป็นศิลาสลักรูปดอกบัวตูม คือเครื่องหมาย "สีมา" สำหรับด้านหน้า ส่วนสีมาด้านหลังพระอุโบสถ สลักรูปเสมาธรรมจักรที่แผ่นหินแกรนิตปูพื้นภายในกำแพงแก้ว ปูหินแกรนิตสีชมพูอ่อนและสีเทา
  • พระที่นั่งผนวช เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้รื้อมาจากพระพุทธรัตนสถาน เป็นหมู่กุฏิประกอบด้วย "พระที่นั่งทรงผนวช" อยู่ด้านทิศเหนือ "พระกุฏิ" อยู่ด้านทิศใต้ กับกุฏิ ๒ ห้อง ๒ หลัง อยู่ด้านตะวันออกและตะวันตก มีหอเสวยกลาง มีลานหินอ่อนโดยรอบมีช่อฟ้า ใบระกา ลำยอง ลงรักปิดทองทึบหลังด้านทิศใต้คือ "พระกุฏิ" หน้าบันจำหลักลายประกอบ "พัดยศ" ลงรักปิดทองประดับกระจก มีความหมายว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระองค์ทรงผนวชส่วนหลังทิศเหนือคือ '"พระที่นั่งทรงผนวช"' เป็นตรีมุข ประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำตรา "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" ที่ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่เป็น 5 สาย 5 ชั้น ด้านในเขียนภาพเทวดาถือดอกไม้เหนือคนแคระหน้าบันทั้ง ๓ ด้านจำหลักลายไทยประกอบตรา "พระเกี้ยว" ซึ่งเป็นตราประจำของพระองค์ ลงรักปิดทองประดับกระจก หมายถึงพระที่นั่งองค์นี้ เป็นที่ประทับเมื่อคราวพระองค์ทรงผนวชภายในพระที่นั่งทรงผนวช มีพระแท่นบรรทม พระบรมรูปเมื่อทรงผนวช พระบรมรูปสลักหินอ่อน พระพุทธรูป พระเสลี่ยงน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเพื่อเป็นธรรมาสน์แสดงธรรมและแสดงพระปาติโมกข์ครั้งแรกในวัดเบญจมบพิตร เครื่องลายครามต่าง ๆ
  • ศาลาบัณณรศภาค เป็นศาลาจตุรมุข สร้างด้วยทุนทรัพย์ของพระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดาและพระญาติในรัชกาลที่ 5 รวม 15 พระองค์ ปัจจุบัน ใช้เป็นที่ตั้งศพบุคคลสำคัญ เช่น หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
  • โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ซึ่งเป็นสมบัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ และเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ ร.ศ. 121 โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเพื่อ "สอนศิษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์" ปัจจุบัน ทางการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร" เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย
  • พระวิหารสมเด็จ เป็นตึกจตุรมุข 2 ชั้น แต่มุขด้านใต้เชื่อมต่อกับมุขกุฏิสมเด็จ มุขด้านตะวันออกและตะวันตกขยายยาวเป็นชั้นเดียว บันไดพื้นชั้นล่างปูหินอ่อน ชั้นบนปูไม้ความงามของพระวิหารนี้อยู่ที่ประตูหน้าต่างที่เขียนลายไทยรดน้ำทั้งชั้นล่างและชั้นบน หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่าง ปั้นลายก้านขดประกอบตราพระนามาภิไธยย่อ'"ส.ผ."'(เสาวภาผ่องศรี) ลงรักปิดทองประดับกระจกข้างบันไดขึ้นด้านหน้าหล่อราชสีห์ประดับ 2 ตัว
  • ศาลาอุรุพงศ์ เป็นศาลาทรงไทย จตุรมุข หลังเล็ก ๆ ก่ออิฐถือปูน พื้นคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่สนามหญ้าหลังพระอุโบสถ ด้านทิศเหนือต้นพระศรีมหาโพธิ์ สันนิษฐานว่าหลังเดิมสร้างแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ. 2453 เป็นศาลาเครื่องไม้ทั้งหมด ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ในปี พ.ศ. 2459 ถูกพายุพัดหักลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมขึ้นใหม่ แต่คงเป็นศาลาเครื่องไม้เช่นเดิมต่อมาเจ้าจอมมารดาเลื่อน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้บริจาคทรัพย์เปลี่ยนศาลาจากเดิมให้เป็นจตุรมุข ผูกเหล็กหล่อคอนกรีตทั้งหลังศาลาหลังนี้เป็นที่บรรจุพระอังคารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภชพระราชโอรสในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเลื่อน
  • ศาลาธรรมชินราชปัญจบพิธ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๔ ชั้น มีดาดฟ้าเป็นชั้นที่๕สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเจริญพระชนมมายุครบ ๒๕ ชันษา เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘ สร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๔ศาลาธรรมชินราชปัญจบพิธ เป็นศาลาอเนกประสงค์ ที่รวมหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ของวัด

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร http://maps.google.com/maps?ll=13.766095,100.51419... http://maps.google.com/maps?t=k&q=Thailand&ll=13.7... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7660... http://www.rosenini.com/panorama/marble_temple/Mar... http://www.rosenini.com/panorama/marble_temple/Mar... http://www.rosenini.com/panorama/marble_temple/Mar... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/25... http://www.watbencha.com