วิกฤตการณ์การเมืองไทย_พ.ศ._2548–2553

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553 เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองซึ่งต่อต้าน และสนับสนุน ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ[1][2][3] เสถียรภาพทางการเมืองในไทย[4] ทั้งยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท[5] การละเมิดพระราชอำนาจ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[6] และผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้บั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548ในปี 2548 เริ่มมีการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เนื่องจากข้อกล่าวหาการบริหารประเทศของรัฐบาลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และได้ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่มีสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้นำ แต่หลังจากนั้นก็มีกลุ่มคนที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีออกมาเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความเห็นต่างทางการเมือง มีผู้บาดเจ็บสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย 5 ราย และต่อมาเกิดรัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหารในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) (ภายหลังเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เข้าควบคุมอำนาจการปกครองและมีบทบาททางการเมือง ต่อมาคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2549-2550 ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีชื่อเสียง คือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยกล่าวหาว่า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร และต้องการขับไล่ คมช. และรัฐบาลต่อมา พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางการเมืองกับทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 และจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้บุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ก่อนยุติการชุมนุมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชนผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2551 ปรากฏว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือก ทำให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. เดิมคือ นปก.) กลับมาชุมนุมอีกครั้งในปี 2552 และ 2553 เพื่อกดดันให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ หลังจากนั้นยังไม่มีการชุมนุมจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ พักหนึ่ง จนในปี 2556 ได้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์การเมืองไทย_พ.ศ._2548–2553 http://www.theage.com.au/articles/2009/04/14/12394... http://www.theage.com.au/news/business/thai-pm-rin... http://www.abc.net.au/news/stories/2010/05/17/2900... http://english.peopledaily.com.cn/200609/21/eng200... http://www.2bangkok.com/highfeb112006news.shtml http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/whiteco... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/495111 http://bangkokpost.com/breakingnews/170009/stringe... http://bangkokpost.com/breakingnews/170025/udd-den...