ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์ ของ ปรางค์

พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมขอม มีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ

  1. ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม เน้นคติความเชื่อว่าเป็นการจำลองภูเขาและสวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
  2. ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษณะใหญ่แต่สั้น ตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทย โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองเชลียง สุโขทัย เป็นต้น
  3. ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อย ๆ เรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย เป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
  4. ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่ วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี

ปรางค์คือรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม) ของสมัยสุโขทัย เช่นเจดีย์ทรงระฆัง ของสมัยสุโขทัยก็มี ของสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยรัตนโกสินทร์ก็มี

ใกล้เคียง

ปรางค์ ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ ปรางค์ฤๅษี (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ) ปรางค์กู่สวนแตง ปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์นางผมหอม ปรางค์กู่ (จังหวัดร้อยเอ็ด) ปรางค์กู่ ปรางค์แขก ปรางค์สามยอด