ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์ ของ ปรางค์

พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมขอม มีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ

  1. ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม เน้นคติความเชื่อว่าเป็นการจำลองภูเขาและสวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
  2. ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษณะใหญ่แต่สั้น ตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทย โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองเชลียง สุโขทัย เป็นต้น
  3. ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อย ๆ เรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย เป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
  4. ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่ วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี

ปรางค์คือรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม) ของสมัยสุโขทัย เช่นเจดีย์ทรงระฆัง ของสมัยสุโขทัยก็มี ของสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยรัตนโกสินทร์ก็มี

ใกล้เคียง