ขั้นตอน ของ CPO-STV

กำหนดโควตา

ทั้งโควตาแฮร์และดรูปอาจนำมาใช้ในการเลือกตั้งในระบบนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ไทด์แมนได้แนะนำให้ใช้โควตาฮาเกินบัค-บิชช็อฟ ซึ่งโควตานี้เป็นจำนวนตรรกยะซึ่งเท่ากับจำนวนคะแนนดีทั้งหมดหารด้วยจำนวนที่นั่งที่เลือกตั้งทั้งหมดบวกหนึ่ง ซึ่งสูตรคำนวนเป็นดังนี้

v o t e s s e a t s + 1 {\displaystyle {\rm {votes}} \over {\rm {seats+1}}}

การหาผู้ชนะ

CPO-STV ใช้การเปรียบเทียบทุกๆ ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งกับอีกผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการหาชุดของผู้ชนะการเลือกตั้งที่ได้คะแนนเสียงสนับสนุนสูงที่สุด กล่าวคือเป็นแบบหนึ่งของวิธีกงดอร์แซ โดยปกติแล้วจะมีผลลัพธ์หนึ่งที่จะสามารถเอาชนะในทุกการแข่งขันได้ และจะได้รับเลือกเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งโดยปริยาย

เมื่อใช้การเปรียบเทียบสองผลลัพธ์เข้าด้วยกันจะต้องใช้วิธีพิเศษในการให้คะแนนแต่ละผลลัพธ์ และเพื่อจะกำหนดว่าผลลัพธ์ไหนเป็นผู้ชนะ ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทั้งสองแบบนั้นใช้วิธีการดังนี้

  1. กำจัดผู้สมัครทุกรายที่ไม่อยู่ในผลลัพธ์ในชุดใดเลย ผู้สมัครทั้งหมดที่ไม่ปรากฎอยู่ในผลลัพธ์ชุดใดเลยจะตกรอบและคะแนนเสียงจะถูกถ่ายโอนไป ผู้ลงคะแนนรายใดที่สนับสนุนผู้สมัครที่ตกรอบนั้นคะแนนจะถูกโอนให้แก่ผู้สมัครในลำดับถัดไปที่ปรากฎอยู่ในอย่างน้อยหนึ่งในสองผลลัพธ์
  2. ถ่ายโอนคะแนนเกินของผู้สมัครในทั้งสองผลลัพธ์ เมื่อจำนวนคะแนนเสียงของผู้สมัครนั้นมากกว่าจำนวนโควตา คะแนนส่วนเกินจะถูกโอนออก อย่างไรก็ตามจะนับเฉพาะคะแนนเกินของผู้สมัครที่ปรากฎในผลลัพธ์ทั้งสองนี้เท่านั้น คะแนนส่วนเกินของผู้สมัครรายที่ไม่อยู่ในผลลัพธ์คู่นี้จะไม่ถูกนับ โดยคะแนนเกินจะสามารถถ่ายโอนไปยังผู้สมัครรายที่ปรากฎอยู่ในอย่างน้อยหนึ่งในสองผลลัพธ์เท่านั้น
  3. คำนวนผลรวมคะแนน ภายหลังจากการถ่ายโอนคะแนนสิ้นสุดลง จำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดที่จะผู้สมัครแต่ละรายพึงได้รับตามผลลัพธ์ทั้งสองชุดนั้นจะถูกสรุป และผลรวมคะแนนนั้นจะถือเป็นคะแนนของผลลัพธ์ชุดนั้น
  4. ประกาศผู้ชนะ ผลลัพธ์ชุดใดที่มีคะแนนสูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะในเปรียบเทียบในคู่นั้นๆ

ในบางโอกาส เมื่อใดที่ทุกๆ ผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้นั้นได้รับการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันแล้ว จะไม่มีผลลัพธ์ชุดใดเลยที่สามารถชนะผลลัพธ์ได้ครบทุกชุด ซึ่งหมายความว่า ไม่มี "ผู้ชนะแบบกงดอร์แซ" ในกรณีนี้จะต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่า วิธีการทำให้กงดอร์แซสมบูรณ์ โดยนำมาใช้เพื่อการหาชุดของผู้ชนะที่จะได้รับเลือกตั้ง โดยวิธีสมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับแบบย่อยของวิธีกงดอร์แซที่นำมาใช้ ซึ่งแบบต่างๆ ที่ซับซ้อนและแตกต่างกันนั้นรวมถึง ระบบจัดลำดับคู่ (พัฒนาโดยไทด์แมน) และวิธีชุลท์เซอ

วิธีการโอนคะแนนเกิน

การเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงแบบดั้งเดิมนั้นแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ใช้ในการถ่ายโอนคะแนนเสียงส่วนเกิน ในระบบเก่านั้นใช้ระบบการโอนสุ่ม (วิธีของแฮร์) หรือระบบการโอนเศษ (วิธีเกรกอรี) แต่วิธีเหล่านี้นั้นค่อนข้างหยาบ และอาจทำให้เกิดการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์ได้

วิธีของวอร์เรน และวิธีของมีกนั้นเป็ระบบการโอนคะแนนที่ซับซ้อนกว่า CPO-STV นั้นสามารถใช้กับวิธีเหล่านี้ได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงย่อมขึ้นอยู่กับผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจเลือกระบบการลงคะแนนว่าจะใช้วิธีการคำนวนแบบใด