การจัดจำแนก ของ Clostridium_botulinum

จากการศึกษาในทางอนุกรมวิธาน สามารถแยกกลุ่ม (phenotype) ของ C. botulinum ได้เป็น 4 กลุ่ม (I–IV) โดยแบ่งตามความสามารถในการสลายโปรตีนโครงสร้างใหญ่ต่างชนิดกัน การศึกษาสารพันธุกรรมก็สนับสนุนข้อสรุปนี้เช่นกัน C. botulinum ที่ก่อโรคในมนุษย์ได้แก่กลุ่มที่ I และ II ส่วนกลุ่มที่ III พบว่าสามารถก่อโรคได้ในสัตว์อื่นๆ หลายประเภท

พบแบคทีเรียนี้ได้ทั่วไปในธรรมชาติ ทั้งในดินและในน้ำทะเล สามารถเจริญได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ (pH อยู่ในช่วง 4.8 – 7) เชื้อนี้มีความสามารถในการแพร่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ง่าย เช่น ผ่านการปนเปื้อนในดินที่เพาะปลูกพืช ในเศษดินที่ติดมากับผัก หรือในลำไส้ของปลา รวมทั้งในสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่แบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin ได้เฉพาะช่วงสร้างสปอร์ ซึ่งจะเกิดในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น นอกจากนี้มีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่สามารถสร้าง neurotoxin ลักษณะเดียวกันนี้ได้ เช่น สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในวงศ์ Clostridium และสิ่งมีชีวิตที่แม้จะมีลักษณะภายนอกที่ต่างกัน ก็สามารถสร้างพิษชนิดนี้ได้เช่นกัน กลุ่มของ C. botulinum และสายพันธุ์ใกล้เคียงที่สร้างสาร botulinum toxin ได้มีดังตารางนี้

IIIIIIIV*C. buritiiC. butyricum
ชนิดสารพิษA, B, FB, E, FC, DGFE
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ (°C)35-4018-25403730-3730-45
อุณหภูมิต่ำสุดที่จะเจริญได้ (°C)123.31510

C. argentinense has been proposed for VI group (Hatheway, 1995).

แหล่งที่มา

WikiPedia: Clostridium_botulinum http://www.108health.com/108health/topic_detail.ph... http://pha.narak.com/topic.php?No=06821 http://www.vcharkarn.com/varticle/42555 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16163636 http://www.bacterio.net/clostridium.html#botulinum http://www.nzor.org.nz/names/de5dd4b1-9e04-42d2-bf... //doi.org/10.1086%2F444507 http://www.irmng.org/aphia.php?p=taxdetails&id=100... http://biology.ipst.ac.th/index.php?option=com_con... http://www.ifr.ac.uk/info/science/FoodbornePathoge...