วิวัฒนาการของกฎของหุ่นยนต์ ของ กฎ_3_ข้อของหุ่นยนต์

ค.ศ. 1890บริษัทหุ่นยนต์และมนุษย์กลแห่งสหรัฐฯ ทำการดัดแปลงกฎข้อที่ 1 โดยระบุไว้เพียงแค่ว่า

1. หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำร้ายมนุษย์

อ้างอิงจาก "เนสเตอร์ 10" (ข้าคือหุ่นยนต์ #1, แปลโดย ธีรวินท์) : "Little Lost Robot" (I, Robot)

ค.ศ.1900 ซูซาน เคลวิน แสดงความคิดเห็นถึงการมีอยู่ของกฎข้อที่ศูนย์ขึ้นเป็นครั้งแรกว่า

"เครื่องจักรจะต้องไม่ทำร้ายมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติต้องตกอยู่ในอันตราย" กฎข้อแรกถึงข้อที่สามควรถูกปรับเปลี่ยนตามให้สอดคล้องกัน

อ้างอิงจาก "เครื่องจักร" (ข้าคือหุ่นยนต์ #1, แปลโดย ธีรวินท์) : "The Evitable Conflict" (I, Robot)

ค.ศ. 1950อีลีจาห์ เบลีย์ แย้งว่า กฎข้อที่หนึ่งมีข้อผิดพลาด และให้ความเห็นว่าน่าจะถูกระบุไว้ว่า

"ภายใต้การรับรู้, หุ่นยนต์จะไม่ทำสิ่งใดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตราย" มากกว่า

อ้างอิงจาก นครสุริยะ (แปลโดย ประหยัด โภคะฐิติยุกต์) : The Naked Sun

ค.ศ. 2000ห.จิสการ์ด เพิ่มกฎข้อที่ศูนย์ให้อยู่เหนือกฎของหุ่นยนต์ดั้งเดิมสามข้อ โดยระบุว่า

"หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำร้ายมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติ ต้องตกอยู่ในอันตราย" กฎข้อแรกถึงข้อที่สามควรถูกปรับเปลี่ยนตามให้สอดคล้องกัน

อ้างอิงจาก นครหุ่นยนต์ (แปลโดย ระเริงชัย) : Robot and Empire

หลังสถาปนาแห่งปฐมภพภพมีชีวิต ปฐมภพ (หรือภพไกอา) ได้ปรับกฎข้อแรกให้สอดคล้องกับปรัชญาแห่งตน โดยระบุไว้ว่า

"ปฐมภพจะต้องไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิต หรือนิ่งเฉยปล่อยให้สิ่งมีชีวิตตกอยู่ในอันตราย"

อ้างอิงจาก สถาบันสถาปนาและปฐมภพ (แปลโดย ทศพล) : Foundation's Edge

โดยในปัจจุบันได้มีการเติมตรรกะทางความคิดให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นโดยใช้ กฎเพียงข้อเดียวคือ รับรู้และทำตาม