ประวัติ ของ กฎหมายเกาหลีใต้

ระบบกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้อาจพิจารณาได้ตั้งแต่การริเริ่มให้มีรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีและการประกาศให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐเอกราช ตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งประเทศเกาหลีใต้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติม และถูกยกร่างขึ้นใหม่หลายครั้งด้วยกัน ซึ่งครั้งล่าสุดที่มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่คือปี พ.ศ. 2530 ในระยะเริ่มแรกของยุคสาธารณรัฐที่หก (Sixth Republic)รัฐบัญญัติจัดตั้งศาลแห่งประเทศเกาหลีได้ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2492 ได้จัดตั้งระบบศาลของประเทศเกาหลีใต้ให้มีลักษณะเป็น 3 ชั้น และเป็นอิสระจากกันในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2530 ก็ได้บัญญัติรับรองให้ผู้พิพากษาจะไม่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยวิธีใด ๆ เว้นแต่จะถูกถอดถอนโดยกระบวนการถอดถอน (Impeachment) การกระทำความผิดอาญา หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ นอกจากนี้มาตรา 103 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2530 ได้บัญญัติรับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ดังนี้ “ผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการวินิจฉัยคดีตามสามัญสำนึกและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”นอกจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 1987 ได้บัญญัติรับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศเกาหลีใต้มีองค์กรสำหรับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ [1]