กฎหมายมหาชน ของ กฎหมายไทย

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยซึ่งอยู่เหนือกว่ากฎหมายที่รัฐสภาออก รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดความชอบต่อรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎหมาย การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของรัฐ และประเด็นเกี่ยวกับพรรคการเมือง

กฎหมายอาญา

ความผิดอาญาระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ตลอดจนบทกฎหมายอื่นอีกมาก มีการวางเค้าโครงวิธีพิจารณาความอาญาในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  • มีบทกฎหมายหลายฉบับว่าด้วยความผิดอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 นิยามยาเสพติด จำแนกเป็นประเภท ให้รายละเอียดความผิดและวางกรอบการลงโทษ การลงโทษสำหรับการผลิต นำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดอยู่ในมาตรา 65–102 ซึ่งรวมโทษปรับ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต กฎหมายยาเสพติดอื่นมีพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
  • พบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี ถ้าได้กระทำโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษเช่นกัน" (ดู ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย)

กฎหมายปกครอง

คดีปกครองอย่างการพิจารณาทบทวนในศาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เขตอำนาจของศาลมีการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ (เช่น เกินอำนาจ แย้งกันกับกฎหมาย ไม่สุจริต เป็นต้น) ละเลยหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร การละเมิดหรือความรับผิดอื่นของหน่วยงานของรัฐ สัญญาทางปกครอง สั่งให้บุคคลกระทำบางสิ่งหรือคำสั่งห้ามหรือคุ้มครองชั่วคราว

กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

การตรวจลงตรา (visa) และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมีในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการแก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของตำรวจเป็นผู้ปฏิบัติกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งการอย่างให้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่