สมบัติของกรด ของ กรด

การแตกตัวของไอออน

ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือไฮโดรเจนไอออน H+ เมื่อรวมกับน้ำจะได้เป็นไฮโดรเนียมไอออน H3O+ ตัวอย่างเช่น กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากสารประกอบไฮโดรเจนคลอไรด์ HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และน้ำต่างก็เป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงเกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl กับน้ำ โดยที่โปรตอน (H) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน H+ + H2O → H3O+ ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ

ไฮโดรเนียมไอออนในน้ำไม่ได้อยู่เป็นไอออนเดียว แต่จะมีน้ำหลายโมเลกุลมาล้อมรอบด้วย อาจอยู่ในรูปของ H5O2+, H7O3+, H9O4+ เป็นต้น ส่วนไอออนลบที่เหลือจากการแตกตัวก็จะมีน้ำมาล้อมรอบเช่นกัน หรืออาจทำปฏิกิริยากับสารอื่นที่ละลายปนอยู่ด้วยกัน

ตัวอย่าง สมการเคมีแสดงการแตกตัวของไอออนของกรดในน้ำ

H N O 3 ( l ) + H 2 O ( i ) → H 3 O + ( a q ) + N O 3 − ( a q ) H 2 S O 4 ( l ) + H 2 O ( i ) → H 3 O + ( a q ) + S O 4 2 − ( a q ) C H 3 C O O H ( l ) + H 2 O ( i ) → H 3 O + ( a q ) + C H 3 C O O − ( a q ) H C l O 4 ( l ) + H 2 O ( i ) → H 3 O + ( a q ) + C l O 4 − ( a q ) {\displaystyle {\begin{aligned}\mathrm {HNO_{3}} (l)+\mathrm {H_{2}O} (i)&\rightarrow \mathrm {H_{3}O^{+}} (aq)+\mathrm {NO_{3}^{-}} (aq)\\\mathrm {H_{2}SO_{4}} (l)+\mathrm {H_{2}O} (i)&\rightarrow \mathrm {H_{3}O^{+}} (aq)+\mathrm {SO_{4}^{2-}} (aq)\\\mathrm {CH_{3}COOH} (l)+\mathrm {H_{2}O} (i)&\rightarrow \mathrm {H_{3}O^{+}} (aq)+\mathrm {CH_{3}COO^{-}} (aq)\\\mathrm {HClO_{4}} (l)+\mathrm {H_{2}O} (i)&\rightarrow \mathrm {H_{3}O^{+}} (aq)+\mathrm {ClO_{4}^{-}} (aq)\\\end{aligned}}}