กรดไฮยาลูรอนิก
กรดไฮยาลูรอนิก

กรดไฮยาลูรอนิก

กรดไฮยาลูรอน หรือ กรดไฮยาลูรอนิก (อังกฤษ: Hyaluronic acid; /ˌh.əljʊəˈrɒnɪk/[2][3]; ตัวย่อ HA; คู่เบส ไฮยาลูรอเนต; hyaluronate) หรือ ไฮยาลูรอแนน (hyaluronan) เป็นสารไกลโคสะมิโนไกลแคน (glycosaminoglycan) ที่ไม่มีหมู่ซัลเฟต (nonsuphated) และเป็นประจุลบ พบกระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อบุผิว และ เนื้อเยื่อประสาท (neural tissue) กรดไฮยาลูรอนแตกต่างจากไกลโคสะมิโนไกลแคนอื่น ๆ ตรงที่ไม่มีหมู่ซัลเฟต (nonsulphated), ก่อตัวขึ้นในเยื่อหุ้มเซลล์แทนที่กอลจิแอพพาราตัส และอาจมีขนาดที่ใหญ่มาก ค่า HA ในไขข้อ (synovial HA) ของมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 7 ล้าน Da ต่อโมเลกุล หรือคิดเป็นไดแซคคาไรด์มอนอเมอร์กว่า 20000 มอนอเมอร์[4] while other sources mention 3–4 million Da.[5]นอกจากนี้ HA ยังเป็นองค์ประกอบหลักของเมตริกซ์นอกเซลล์ และมีส่วนช่วยอย่างมากในการขยาย (proloferation) และการเคลื่อนที่ (migration) ของเซลล์ และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดเนื้องอกที่อันตรายถึงชีวิต[6]โดยเฉลี่ย มนุษย์ที่มีมวล 70 กิโลกรัมจะมีไฮยาลูรอแนนอยู่ 15 กรัมโดยประมาณ หนึ่งในสามของจำนวนนี้จะหายไปหรือเปลี่ยนสภาพทุก ๆ วัน (ผ่านการสลาย - degraded หรือใช้สังเคราะห์ - synthesis)[7] HA ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของแคปซูลเคลือบเซลล์ของสเตรปโตคอกคัสกลุ่ม A (group A streptococcus)[8] และเชื่อว่ามีส่วนสำคัญในการก่อศักยภาพก่อโรค (virulence)[9][10]