ประวัติ ของ กรมการจัดหางาน

ยุคหลัง พ.ศ. 2475

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของปัญหาแรงงาน ที่เกิดขึ้นในอนาคต จึงได้ดำเนินนโยบายของชาติไว้อย่างแน่ชัด ประกอบกับในระยะนั้น เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนด้วย ประชาชนจึงว่างงานกันมาก หน่วยงานของรัฐบาล ที่ปฏิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจลักษณะเป็นครั้งแรก คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายหลัก 6 ประการ ประการหนึ่งระบุว่า "จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ" รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475[3] ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะประกอบอาชีพ ในทางจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยดำเนินงาน และบริการเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475[4] ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ

ยุคจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยการโอนภารกิจด้านแรงงานจากกระทรวงมหาดไทย[5] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 จึงมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็น "กระทรวงแรงงาน"

ใกล้เคียง

กรมการปกครอง กรมการขนส่งทหารบก กรมการขนส่งทางบก กรมการสารวัตรทหารบก กรมการขนส่งทหารเรือ กรมการท่องเที่ยว กรมการศาสนา กรมการพัฒนาชุมชน กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ กรมการข้าว