ประวัติการก่อตั้ง ของ กรมการท่องเที่ยว

กรมการท่องเที่ยว เดิมชื่อ "สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว" จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[2] เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยเป็นการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภารกิจด้านภาพยนตร์จากกรมประชาสัมพันธ์ มาไว้ในการดูแลของสำนักงานฯ

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็น กรมการท่องเที่ยว [3] ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นกรมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ คือ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553[4]

ภาพเครื่องหมายราชการกรมการท่องเที่ยว

ตราสัญลักษณ์กรมการท่องเที่ยว ร่างจากหน่วยงานต้นแบบ คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยคัดส่วนที่เป็นรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งรูปโขนเรือเป็นศีรษะหงส์ ยาตรามาในกระบวนพยุหยาตรา โดยชลมารคเทียบท่าฉนวน หน้าวัดอรุณราชวราราม ในดวงสัญลักษณ์ปรากฏเฉพาะโขนเรือพระที่นั่ง อันงามสง่า ปากหงส์ห้อยพวงแก้วและพู่จามรี่ คอหงส์ห้อยมาลัยกรองตาข่ายดอกรักห้อยพวงกลางกรองดอกไม้สด พู่เฟื่องอุบะ การนำโขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มาเป็นตราสัญลักษณ์ประทับใจ และรู้จักแพร่หลายกันทั่วโลก ดังที่ประธานองค์การเรือโลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี พ.ศ. 2535 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังโขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เป็นรูปพระปรางค์ประธานและปรางค์องค์น้อยบริวาร วัดอรุณราชวรารามก็เป็นที่ชนชาวโลกรู้จักกันแพร่หลายเช่น อันว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังแสดงฝั่งน้ำและพื้นระลอกน้ำของลำน้ำเจ้าพระยาอันเป็นแม่น้ำสายสำคัญ ซึ่งก่อเกิดรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมศิลป์ของชาติไทย ล้อมรอบด้วยข้อความภาษาไทยด้านบนมีคำว่า “กรมการท่องเที่ยว” ด้านล่างภาษาอังกฤษมีคำว่า “DEPARTMENT OF TOURISM”

  • ลายเส้นต่างขนาดช่วงบน หมายถึง คุณค่าทางศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

ที่บริสุทธิ์ และสวยงาม ซึ่งทำให้การท่องเที่ยวของไทยโดดเด่นในหลาย ๆ มิติและยังเปรียบเสมือนการปกป้อง คุ้มครอง ดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวตลอดระยะเวลาในการเดินทางในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของประเทศไทย

  • ลายน้ำช่วงล่าง หมายถึง พื้นน้ำที่จะนำพาเรือให้ล่องไปทุก ๆ ที่ของประเทศไทยที่มีความงาม

ล้วนแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และบริการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมาตรฐานใครได้มาแล้วจะต้องกลับมาเที่ยวอีก

  • สีทอง หมายถึง ความมีคุณค่า ความสง่างาม มั่งคั่ง มั่งมี อบอุ่น เป็นมิตร สร้างสรรค์

นักคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ อิสระ ความเมตตา อันแสดงถึงอัตลักษณ์ และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย

  • สีขาว หมายถึง แสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนกรมการท่องเที่ยว

เป็นความหมายที่แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจ การพัฒนาการท่องเที่ยวทำให้นักท่องเที่ยวมองเห็นแล้วมีความรู้สึกต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสิ่งสร้างสรรค์เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ความสวยงาม กลมกลืน การจัดกลุ่มการสื่อความหมาย ความช่วยเหลือ ความบริสุทธิ์ สะอาด ความถูกต้องการสร้างสรรค์งานพัฒนา สร้างบรรยากาศ และการเปลี่ยนแปลง

  • สีฟ้า หมายถึง การท่องเที่ยวที่สุขสบาย มีชีวิตชีวา ความสวยงาม โปร่งใส สะอาด

ปลอดภัย ความเป็นอิสระ เสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน และความสนุกสนานในบรรยากาศที่สดใส

  • สีเขียว หมายถึง ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ สวยสดงดงาม

ให้ความรู้สึกที่สงบ งอกงาม สดชื่น เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน ผ่อนคลายปลอดภัย ความสุข ความสุขุมเยือกเย็น

  • สีน้ำเงิน หมายถึง ประชาชนคนไทยมีอัธยาศัยไมตรีที่ดี มีความซื่อสัตย์ ความรู้สึกสงบ

เป็นเจ้าบ้านที่ดี ความมั่นคง ความสม่ำ เสมอ เสถียรภาพ ความแน่นอนความแข็งแรง ความเป็นผู้นำ ความเย็น ความสบาย ความไว้วางใจ คลาสสิก

อักษรย่อส่วนราชการ

กรมการท่องเที่ยว ใช้อักษรย่อว่า “กทท.”

DEPARTMENT OF TOURISM ใช้อักษรย่อว่า “DOT”

“DOT” หมายถึง จุดหลาย ๆ จุดต่อเรียงกันก็จะเป็นเส้นตรง การทำให้บางสิ่งบางอย่างเจริญเติบโตขึ้นได้ก็จะต้องเกิดจากจุด จุดต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นพื้นฐาน เพื่อป้องกันมิให้ส่วนต่อยอดขึ้นไปนั้นสั่นคลอน จุดเป็นหลักเพื่อควบคุมส่วนประกอบ หรือสาขา จุดถูกใช้กับทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว ไปจนถึงการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง และอารยธรรมของมนุษยชาติ ดังนั้นจุดศูนย์กลางเล็ก ๆ นี้ สามารถสร้างสรรค์จินตนาการให้แผ่ขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง

ใกล้เคียง

กรมการปกครอง กรมการขนส่งทหารบก กรมการสารวัตรทหารบก กรมการขนส่งทางบก กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ กรมการท่องเที่ยว กรมการขนส่งทหารเรือ กรมการพัฒนาชุมชน กรมการข้าว กรมการศาสนา