ประวัติ ของ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยยุบหน่วยงานที่กระจายอยู่ในหลายกระทรวง มาจัดตั้งกระทรวงและหน่วยงานระดับกรมขึ้นใหม่ เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีการจัดตั้งสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 มาตรา 17 และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 มาตรา 35 (1)

โดยมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2545 ในการจัดตั้งสำนักงานนี้ มีการรวมภารกิจบางส่วนของหน่วยงาน 3 หน่วยงานเข้าด้วยกัน คือ

  • คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี  
  • กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
  • กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ต่อมามีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558[1] ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยรวมงานด้านนโยบาย ด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายเดียวกันให้อยู่ส่วนราชการเดียวกันแบ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ประกอบด้วย

  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • กรมกิจการเด็กและเยาวชน
  • กรมกิจการผู้สูงอายุ
  • กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  • กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ซึ่งกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้รับการโอนภารกิจที่เกี่ยวกับงานสตรี สำนักงานป้องกันและแก้ใขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก สถานสงเคราะห์สตรี และสถานสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี และงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการที่กำหนด

ใกล้เคียง

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมศิลปากร กรมการปกครอง กรมการขนส่งทหารบก กรมการสารวัตรทหารบก กรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทหารเรือ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ