ผลงานที่สำคัญในอดีต ของ กรมช่างอากาศ

24 พฤษภาคม 2458 สร้างเครื่องบินแบบ เบรเกต์ ชนิดปีก 2 ชั้น เป็นผลสำเร็จ โดย พันโท พระเฉลิมอากาศ ผู้บังคับการ กองบินทหารบก ได้ทำการบิน ในระดับความสูงประมาณ 100 เมตร

12 พฤษภาคม 2464 สร้างเครื่องบินนิออร์ปอร์ท และทำการบินได้สำเร็จ จำนวน 4 เครื่อง โดยได้ใช้พันธุ์ไม้ที่เกิดในประเทศไทยในการสร้าง ลำตัว ปีก หางและใบพัดของเครื่องบิน

ปี พ.ศ. 2470 ได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บ.ท.2 ซึ่งต่อมาได้ชื่อเป็น เครื่องบินบริพัตร เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดสัญชาติไทย 2 ที่นั่ง ปีก 2 ชั้น ใช้เครื่องยนต์จูปิเตอร์ 400-600 แรงม้า 1 เครื่อง โดยในปี พ.ศ. 2472 ได้บินเดือนทางไปเยือนประเทศอินเดีย และในปี 2473 ได้บินไป ฮานอย ประเทศเวียดนาม ปัจจุบันได้ตั้งแสดง ตัวอย่างให้ชม ที่บริเวณช่องทางเข้า สโมสรนายทหารอากาศ บางซื่อ[6]

ปี พ.ศ. 2472 ได้ออกแบบ และสร้างเครื่องบินขับไล่ แบบ ข.5 ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "เครื่องบินประชาธิปก" ตามพระนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานชื่อไว้ นับเป็นเครื่องบินแบบที่สองที่ออกแบบและสร้างเองโดยคนไทย

15 มิถุนายน 2472 สร้างเครื่องบินนิออร์ปอร์ท โดยใช้เครื่องยนต์ เลอโรน 80 แรงม้า 1 เครื่อง

ปี 2490 พัฒนาการสร้าง บ.ทอ.2 ดัดแปลงชุดหางจากบ. สื่อสารแบบที่ 5 ซึ่งเดิมเป็น V TYPE ให้เป็นแบบใช้ แพนหางดิ่ง และแพนหางระดับ,แผนแบบ บ.ทอ.3 และผลิตหุ่น จำลอง ขนาด 1:6 ไปทดลองที่ประเทศญี่ปุ่น, บ.ทอ.4 ใช้แบบจากบ.ฝึกแบบที่ 9 โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์ และแผ่นโครงสร้างบริเวณปีก และลำตัว จำนวน 12 เครื่อง เข้าประจำการ กองทัพอากาศเป็น บ.ฝึก แบบ 17

23 กุมภาพันธ์ 2514 พัฒนาเครื่องบิน แบบ บ.ทอ.4 เป็นเครื่องบินแบบฝึก ปีกชั้นเดียว 2 ที่นั่งตามกัน ฐานพับเก็บไม่ได้ ใช้เครื่องยนต์ คอนติเนนตัลไอโอ-360 ดี กำลัง 210 แรงม้า จำนวน 12 เครื่อง โดยกรมช่างอากาศได้ทำการสร้างชิ้น ส่วนย่อย ๆเป็นจำนวน 567 ชิ้น สร้าง GIC และเครื่องมือแบบขึ้นรูปต่างๆ 266 ชิ้น ใช้ชั่วโมงคน 8,530 ชั่วโมงคน ทำการบินครั้งแรกเมื่อ 25 กันยายน 2515 ใช้เวลาประมาณ 18 เดือน นับจากเริ่มโครงการ

ในปี 2517 แผนแบบ ด้านโครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ บ.ทอ.5 โดยสร้างหุ่นจำลอง ขนาด 1:6 ไปทำการทดลองที่ประเทศออสเตรเลีย

ในปี 2526 สร้างเครื่องบิน FANTRINER โดยร่วมกับ บริษัท RHEIN FLUGZEUGBAU GMBH จากประเทศเยอรมันและได้บรรจุเข้าประจำการกองทัพอากาศ เป็น บ. ฝึกแบบ 18/ก (FT 400 และ FT 600) จำนวน 20 เครื่อง[7]

ในปี 2542 ได้ออกแบบสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟป่า บน บ.ล.2ก เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบิน ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค

ในปี 2549 กรมช่างอากาศ ได้จัดทำโครงสร้าง บ.ทอ.6 ขึ้น โดยได้ทำโครงสร้าง บ.ชอ.2 ขี้นก่อน จำนวน 1 เครื่อง โดยเป็นการ reverse engineering จากเครื่องบินแบบ Marchetti และ บ.ชอ.2 ได้ทำการบินเมื่อ เดือนกันยายนปี 2550 ปัจจุบันได้ทำการเตรียมพร้อมสำหรับเที่ยวบินแรกของเครื่องบิน กองทัพอากาศแบบที่ 6 ปัจจุบัน บรรจุราชการในกองทัพอากาศ จำนวน 3 เครื่อง

ในปี 2553 กองทัพอากาศ โดยกรมช่างอากาศ ได้สนับสนุนงบประมาณงานวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในโครงการ การสังเคราะห์น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสำหรับอากาศยานของกองทัพอากาศ โดยโครงการจะมุ่งเน้นการศึกษาและผลิตเชื้อเพลิงไบโอเจ็ท ในระดับแล็บสเกลเพื่อทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ มุ่งเน้นกระบวนการในการผลิตทั้งหมดสองกระบวนการ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์โดยกระบวนการ ฟิชเชอร์-ทรอปซ์(Fischer-Tropsch Synthetic Fuel)และ การสังเคราะห์ด้วยกระบวนการแตกตัวด้วยไฮโดรเจนของพลังงานเชื้อเพลิงหมุนเวียนกลุ่มน้ำมันจากพืช (Hydro-treated Renewable Jet fue, HRJ from Plant Oil)[8]

ใกล้เคียง

กรมช่างอากาศ กรมช่างโยธาทหารเรือ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมชลประทาน (ประเทศไทย) กรมท่าอากาศยาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมส่งเสริมการเกษตร