ส่วนราชการภายใน ของ กรมทรัพยากรธรณี

ส่วนราชการภายในกรมทรัพยากรธรณี[6]
ที่ส่วนราชการหน้าที่
1สำนักงานเลขานุการกรมงานสารบรรณ, งานช่วยอำนวยการ, งานเลขานุการ, ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลนโยบายและผลงานของกรม, จัดระบบงาน, บริหารงานบุคคล, การเงิน/การบัญชี/งบประมาณ/พัสดุ และปฏิบัติงานอื่น ๆ
2กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ดูแลการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ บริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ เสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแหล่งและซากดึกดำบรรพ์ กำหนดมาตรฐานและรวบรวมหลักฐานอ้างอิงซากดึกดำบรรพ์
3กองทรัพยากรแร่สำรวจ เก็บข้อมูล ประเมินศักยภาพการพัฒนาแหล่งแร่ ศึกษาวิจัยและทำแผนที่ทรัพยากรแร่ จัดเก็บตัวอย่างแร่เพื่อการอ้างอิงและศึกษา ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ "คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ" และคณะกรรมการอื่น
4กองเทคโนโลยีธรณีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจและศึกษาวิจัยทางธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี ธรณีเทคนิค แปลความหมายทางธรณีวิทยาจากข้อมูลระยะไกล (เช่นทางอากาศ) เจาะสำรวจ เพื่อสนับสนุนงานด้านธรณีวิทยา ธรณีวิศวกรรม และทรัพยากรธรณี, พัฒนาฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรณี และพื้นที่อันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา
5กองธรณีวิทยาสำรวจ เก็บข้อมูล ผลิตข้อมูล ศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยา จัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและกำหนดมาตรฐานทางธรณีวิทยาของประเทศ จัดเก็บหลักฐานทางธรณีวิทยาเพื่อการอ้างอิงและการศึกษา จัดการด้านอนุรักษ์ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา อุทยานธรณี บริหารจัดการ "พิพิธภัณฑ์แร่-หิน" (กรุงเทพมหานคร)
6กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมสำรวจ ศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย (เพื่อการวางผังเมือง จัดการพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย การกัดเซาะชายฝั่งและตลิ่ง) พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย กำหนดมาตรฐานทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัยของประเทศ
7กองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณีศึกษาวิจัยและให้บริการการวิเคราะห์และตรวจสอบตัวอย่างทรัพยากรธรณี
8กองอนุรักษ์และจัดการ
ทรัพยากรธรณี
เสนอการจัดทำนโยบายและแผน การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู การบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย, จำแนกพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรณี พื้นที่อันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา พื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัยและมลพิษ, ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศด้านธรณีวิทยาและสาขาของธรณีวิทยา
9ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศของกรม รวมทั้งศึกษาและพัฒนาระบบดังกล่าว, จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับ "แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม"
10สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 (ลำปาง)ปฏิบัติงานเฉพาะในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาค อันได้แก่ สำรวจ เก็บข้อมูล ศึกษาวิจัย ประเมินศักยภาพ ให้บริการ คำปรึกษา ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในด้านธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย ผลิตข้อมูลและแผนที่ทรัพยากรแร่ ประสานการดำเนินการเหตุฉุกเฉินด้านธรณีพิบัติภัย กำกับดูแลการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ การบริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา/ซากดึกดำบรรพ์/ธรรมชาติวิทยาในเขตพื้นที่ดูแล
11สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น)
12สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 3 (ปทุมธานี)
13สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 (สุราษฎร์ธานี)

ใกล้เคียง