ภารกิจ ของ กรมทางหลวงชนบท

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มุ่งปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม โดยมีการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้น แต่ได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาล มาตรา 54 ไว้ว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก" ซึ่งจะเป็นผลให้กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ต่อมาภายหลังการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกการยุบกรมทางหลวงชนบท และให้มีภารกิจดำเนินการเช่นเดิม เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล[2]

ใกล้เคียง

กรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมการปกครอง กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมราชเลขานุการในพระองค์ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ กรมราชทัณฑ์ กรมการขนส่งทหารบก กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์