หน่วยงานในสังกัด ของ กรมอุตุนิยมวิทยา

  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • สำนักสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
  • ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
  • ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
  • ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
  • ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก
  • สถาบันอุตุนิยมวิทยา
  • สำนักบริหารกลาง
  • สำนักพยากรณ์อากาศ
  • สำนักเครื่องมืออุตุนิยมวิทยา
  • สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ
  • สำนักอุตุนิยมวิทยาการบิน
  • สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
  • สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  • สำนักบูรณาการข้อมูลอุตุนิยมวิทยา
  • สำนักบริการสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา

สำนักพยากรณ์อากาศ

หน้าที่จัดทำแผนที่อุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์และพยากรณ์อากาศทั่วไป รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศเพื่อการคมนาคมขนส่งทางบกทั่วประเทศ และการเดินเรือในอ่าวไทยและน่านน้ำใกล้เคียง ออกคำเตือนลักษณะอากาศร้ายที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนโดยระบบพยากรณ์อากาศต่าง ๆ ที่ทันสมัยและเป็นสากล เผยแพร่และให้บริการการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยธรรมชาติทางอุตุนิยมวิทยาอย่างรวดเร็วโดยระบบและเทคนิคที่ทันสมัย ติดตามและประเมินผลการพยากรณ์อากาศ และศึกษาค้นคว้าเทคนิคเพื่อปรับปรุงการพยากรณ์อากาศให้ทันสมัยตลอดเวลา ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักเครื่องมืออุตุนิยมวิทยา

หน้าที่และความรับผิดชอบให้คำปรึกษา ศึกษา พัฒนา วางแผน ดำเนินการ และจัดทำคู่มือในการติดตั้งบำรุงรักษา และซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์อุตุนิยมวิทยา ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจอากาศที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากล ศึกษา พัฒนา และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์อุตุนิยมวิทยา ดำเนินการและให้บริการเกี่ยวกับการสอบเทียบและตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการตรวจอากาศให้ถูกต้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดขององค์การ อุตุนิยมวิทยาโลก ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว

สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว มีภารกิจในการเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิทั้งภายในและต่างประเทศทั่วโลก รวมถึงความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากการกระทำทั้งธรรมชาติและมนุษย์ ถือเป็นหน่วยงานหลักสำหรับการดูแลระบตรวจวัดแผ่นดินไหวของประเทศไทย มีสถานีติดตั้งทั่วประเทศและเชื่อมโยงสัญญาณความสั่นสะเทือนแบบเวลาจริงจากต่างประเทศนับร้อยสถานี เป็นสำนักงานตั้งขึ้นใหม่ตามโครงสร้างของกรมอุตุนิยมวิทยาเมื่อ กลางปี 2552 บุคลากรเป็นอัตรากำลังใหม่และเริ่มเข้ามาปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปี 2553

ใกล้เคียง

กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น กรมศุลกากร กรมขุนสุรินทรสงคราม กรมขุนสุนทรภูเบศร์ กรมขุนวิมลพัตร กรมคุมประพฤติ