กระดูกหักแบบสมิธ
กระดูกหักแบบสมิธ

กระดูกหักแบบสมิธ

กระดูกหักแบบสมิธ (อังกฤษ: Smith's fracture) เป็นการหักของกระดูกเรเดียสส่วนปลาย[1]กระดูกหักแบบสมิธสามารถเกิดได้จากการมีแรงกระแทกโดยตรง (direct blow) เข้าที่ปลายแขนทางดอร์ซอล (dorsal forearm)[2] หรือจากการล้มเอาข้อมือลงในท่างอเข้าใน (wrist flexed) กระนั้น กลไกการเกิดการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดสำหรับกระดูกหักแบบสมิธเกิดจากการล้มเอาฝ่ามือลงประกอบกับข้อมือเกิดมีการงอเข้าไปทางดอร์ซอล (slightly dorsiflexed) เล็กน้อย[3] กระดูกหักแบบสมิธสามารถพบได้น้อยกว่ากระดูกหักแบบคอลลิสกระดูกที่หักส่วนปลาย (distal) จะเคลื่อนออกไปทางวอลาร์และไปทางเวนทรอล (volarly ventrally) ซึ่งตรงกันข้ามกันกับกระดูกหักแบบคอลลิสที่ซึ่งกระดูกส่วนที่หักจะเคลื่อนไปทางดอร์ซอล (dorsally) กระดูกสามารถแตกเป็นชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น และสามารถแตกไปถึงพื้นผิวข้อของข้อมือหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงมีรายงานพบกลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะส่วนแบบซับซ้อน (Complex regional pain syndrome) ได้มากถึง 40%[4] ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัดรวมถึงการแตกละเอียดทางดอร์ซอลหรือวอลาร์ (dorsal or volar comminution), มีการแตกในข้อ (intra-articular involvement), ผู้ป่วยไม่คงที่หลังทำรีดักชั่น (instability post-reduction), การหักทำมุมมากกว่า 20 องศา (angulation greater than 20 degrees), หากเคลื่อนเป็นขั้นของพื้นผิวออกมากเกิน 2 มิลลิเมตร (surface step-off over 2mm) หรือ การหกสั้นของกระดูกเรดียสไปมากกว่า 5 มิลลิเมตร[4]ชื่อของรูปแบบกระดูกหักนี้ตั้งตามศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รอเบิร์ต วิลเลียม สมิธ (1807–1873) ในหนังสือของเขา A Treatise on Fractures in the Vicinity of Joints, and on certain forms of Accidents and Congenital Dislocations (แปล: ตำราความเรียงว่าด้วยกระดูกหักในอาณาบริเวณของข้อต่อและว่าด้วยการเคลื่อนของกระดูกบางรูปแบบจากอุบัติเหตุและที่เป็นโดยกำเนิด) ตีพิมพ์ปี 1847[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กระดูกหักแบบสมิธ https://doi.org/10.1002%2Fjor.23556 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28262985 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:23989625 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC53928... https://doi.org/10.1308%2Frcsann.2016.0237 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27513789 http://gentili.net/fracture.asp?ID=114 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/S52.5 https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... https://www2.aofoundation.org/wps/portal/23-A2.3