กายวิภาคศาสตร์ ของ กระดูกไหปลาร้า


กระดูกไหปลาร้าด้านขวา มุมมองจากด้านบน (รูปบน) และมุมมองจากด้านล่าง (รูปล่าง)

ลักษณะทั่วไป

กระดูกไหปลาร้าเป็นกระดูกแบบยาวที่มีแนวโค้งสองแนว ทำให้มีรูปร่างคล้ายตัว S และเชื่อมระหว่างส่วนลำตัวและส่วนแขนของร่างกาย เราจึงแบ่งส่วนของกระดูกไหปลาร้าได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ ตามปลายทั้งสองด้านของกระดูก ได้แก่

พื้นผิวและจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น

พื้นผิวบนกระดูกไหปลาร้าที่สำคัญได้แก่พื้นผิวทางด้านบน (superior surface) พื้นผิวทางด้านล่าง (inferior surface) ขอบด้านหน้า (anterior border) และขอบด้านหลัง (posterior border) ซึ่งจะมีจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของบริเวณไหล่ ดังตารางสรุปด้านล่าง


พื้นผิวบนกระดูกไหปลาร้ากล้ามเนื้อ/เอ็นบริเวณที่เกาะบนกระดูก
พื้นผิวด้านบนและขอบด้านหน้ากล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle)ปุ่มเดลทอยด์ (deltoid tubercle) ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของปลายด้านกระดูกสะบัก
พื้นผิวด้านบนกล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius muscle)ปลายทางด้านกระดูกสะบัก เยื้องไปทางด้านหลัง
พื้นผิวด้านล่างกล้ามเนื้อใต้ไหปลาร้า (Subclavius muscle)ร่องใต้ไหปลาร้า (Subclavian groove)
พื้นผิวด้านล่างเอ็นโคนอยด์ (Conoid ligament) ซึ่งเป็นเอ็นด้านแนวกลางของเอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์ปุ่มโคนอยด์ (conoid tubercle)
พื้นผิวด้านล่างเอ็นทราพีซอยด์ (Trapezoid ligament) ซึ่งเป็นเอ็นด้านข้างของเอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์แนวทราพีซอยด์ (trapezoid line)
ขอบด้านหน้ากล้ามเนื้อเพคทอราลิส เมเจอร์ (Pectoralis major muscle)ปลายด้านกระดูกอก
ขอบด้านหลังปลายส่วนกระดูกไหปลาร้าของกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid muscle)ทางด้านบนของส่วนกลางของกระดูก
ขอบด้านหลังกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (Sternohyoid muscle)ทางด้านล่างของส่วนกลางของกระดูก
ขอบด้านหลังกล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius muscle)ปลายทางด้านกระดูกสะบัก