ความแตกต่างในฉบับวรรณกรรม ของ กระบี่ไร้เทียมทาน

ในนวนิยายที่แปลโดย ว. ณ เมืองลุง จะไม่มี เจ้าหญิงอนัตตา ที่มาติดตามหาดาวแห่งทะเลทรายที่ส่งมาเป็นบรรณาการแก่ฮ่องเต้ราชวงศ์หมิง ไม่มีตัวละครมือปราบเล็กกีที่มีหลานชายชื่อเล็กตัน ซึ่งต่อมามีบทบาทในภาคยอดยุทธจักรมังกรฟ้าซึ่งมีเพียงในภาพยนตร์เท่านั้น ต่างจากฉบับที่แปลโดยน.นพรัตน์ จะมีตัวละครจากแคว้นเปอร์เซีย เช่น อี้เปยซา (อีแบล์ซ่า) ศิษย์ของสองจอมมารดำ-ขาว และมีตอนที่ฮุ้นปวยเอี๊ยงกินบัวหิมะเพื่อรักษาตนเอง อนึ่ง ว. ณ เมืองลุง แปลจากนิยายจีนที่แต่งโดย "อึ้งเอ็ง" คือ "เทียนฉานเปี้ยง" "ไหมฟ้าปาฏิหาริย์" ลงในหนังสือ "จักรวาลปืน" รายสัปดาห์ ของ "พนมเทียน" เมื่อราว ๆ ปี 2522 ถึง 2523 หรือ 2524 ต่อมารวมเล่มโดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์วิชาการ ในปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว คงมีแต่สำนวนของ น.นพรัตน์ แปลและจัดพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมมิกส์ สำหรับในภาคที่ 2 ฮุ้นปวยเอียง ได้ต่อสู้กับจอมยุทธ์ชาวแม้ว ที่สำเร็จวิชา "ไหมฟ้า" โดยใช้ "แมงกู่" เป็นตัวนำกำลังภายในมาสู่ผู้ฝึก ซึ่งที่จริงแล้วจารึกไว้ที่ถ้ำของดินแดนชาวแม้วเป็นภาษาสันสกฤต แล้วถูกปรมาจารย์จากสำนักบู๊ตึง ไปพบแล้วคัดลอกมาดัดแปลงการฝึกใหม่ตามแนวทางธรรมะ เป็นวิชา "ลมปราณไหมฟ้า" อันเป็นผลให้ฮุ้นปวยเอี๊ยง ต้องล้มลงในฝ่ามือของจอมยุทธชาวแม้ว และถูกป้ายสีว่าเป็นผู้ฆ่ายอดชาวยุทธ/เจ้าสำนักต่างๆ ในตงง้วน เรื่องน่าติดตามทีเดียว มีทั้งสำนวนของ ว ณ.เมืองลุง และ น.นพรัตน์ ผู้แต่งชาวจีน "อึ้งเอ็ง" ไม่ชอบเขียนนิยายที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของจีน ดังนั้นเรื่องในภาพยนตร์โทรทัศน์ในสมัยนั้น บางตอนและบางตัวละครจึงเป็นเรื่อง/บทบาทที่แต่งเติมเพิ่มเพื่อให้เรื่องยาวขึ้น และผลประโยชน์ทางการออกอากาศ ของช่อง 3 ในยุคนั้น ซึ่งมีเรื่อง "กระบี่ไร้เทียมทาน" และต่อด้วย "ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า" อันเป็นเรื่องต่อเนื่องซึ่งมีตัวละครเกี่ยวเนื่องกันเท่านั้น

ใกล้เคียง

กระบี่แสง กระบี่เย้ยยุทธจักร กระบี่เทพสังหาร (ภาพยนตร์) กระบี่กระบอง กระบี่ไร้เทียมทาน กระบี่ กระบี่ฟ้า ดาบมังกร กระบี่ใจพิสุทธิ์ กระบี่เพชฌฆาตไร้เงา กระบี่อาญาสิทธิ์