การแยกออกจากกัน ของ กราวด์_(ไฟฟ้า)

การแยกออกเป็นกลไกที่จะเอาชนะการกราวด์ มันมักจะถูกใช้กับอุปกรณ์ผู้บริโภคที่ใช้พลังงานต่ำ และเมื่อวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์หรือมือสมัครเล่นหรือช่างซ่อมกำลังทำงานกับวงจรที่ปกติจะ ทำงานโดยใช้แรงดันไฟฟ้า AC การแยกสามารถทำได้โดยเพียงแค่การวางหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอัตราส่วนของลวดระหว่างไฟ AC กับอุปกรณ์เป็น 1:1 แต่สามารถนำไปใช้กับชนิดของ หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ขดลวดสองขดขึ้นไปและเป็นฉนวนไฟฟ้าจากกันและกัน

สำหรับอุปกรณ์ที่ถูกแยกออก การสัมผัสตัวนำที่มีไฟเพียงเส้นเดียวจะไม่ก่อให้เกิดการช๊อกอย่างรุนแรง เนื่องจากไม่มีเส้นทางกลับไปที่ตัวนำอีกเส้นหนึ่งผ่านทางสายกราด์ อย่างไรก็ตามการช็อกและการถูกไฟฟ้าดูดอาจจะยังคงเกิดขึ้นได้ถ้าทั้งสองขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้ามีการสัมผัสกับ ผิวหนังเปลือย ก่อนหน้านี้มีข้อแนะนำให้ช่างซ่อม "ทำงานด้วยมือข้างหนึ่งไว้ข้างหลัง" เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสองส่วนของอุปกรณ์ภายใต้การทดสอบในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการป้องกันวงจรจากการข้ามผ่านหน้าอกและขัดจังหวะการเต้นของหัวใจ/ก่อให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

โดยทั่วไปทุกหม้อแปลงไฟ AC ทำหน้าที่เป็นหม้อแปลงแยกและทุกขดลวดสเต๊ปอัพและสเต๊ปดาวน์มีศักยภาพที่จะทำตัวเป็นวงจรแยก อย่างไรก็ตาม การแยกนี้จะป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่เสีย ไม่ให้ฟิวส์ขาดเมื่ออุปกรณ์นี้ถูก shorted เข้ากับสายกราวด์ การแยกที่สร้างขึ้นโดยแต่ละหม้อแปลงจะไม่เป็นผลถ้ามีขาข้างหนึ่งของหม้อแปลงลงกราวด์เสมอทั้งสองด้านของขดลวด input และ output ของหม้อแปลง สายไฟเมนส์มักจะกราวด์ที่สายเฉพาะเจาะจง สายใดสายหนึ่งที่ทุกเสาไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่า การทำให้เกิดการเท่าเทียมกันของกระแสไฟฟ้าจากเสาหนึ่งไปยังอีกเสาหนึ่งถ้ามีการช็อดกับกราวด์เกิดขึ้น

ในอดีตที่ผ่านมา เครื่องใช้ที่มีกราวด์จะถูกออกแบบให้มีการแยกภายในในระดับที่ยอมให้ทำการปลดการเชื่อมต่อกับกราวด์ได้อย่างง่ายๆโดยปลั๊กแบบสิบแปดมงกุฎโดยไม่มีปัญหาที่ชัดเจน(เป็นการปฏิบัติที่เป็นอันตรายอย่างหนึ่ง เนื่องจากความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่ลอยจะขึ้นอยู่กับฉนวนในหม้อแปลงไฟฟ้าของมันเอง) อย่างไรก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทันสมัยมักจะมี โมดูลพลังงานที่ได้รับการออกแบบเจตนาให้มี capacitive coupling ระหว่างสายไฟ AC และแท่นเครื่อง เพื่อลดการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลอย่างมีนัยสำคัญ จากสายไฟไปที่กราวด์ ถ้ากราวด์ถูกตัดการเชื่อมต่อโดยปลั๊กสิบแปดมงกุฎหรือโดยอุบัติเหตุ ผลที่เกิดจากการรั่วไหลของกระแสสามารถทำให้เกิดการช็อกที่ไม่รุนแรง ถึงแม้ว่าจะไม่มีความผิดปกติใดๆในอุปกรณ์.[6] แม้แต่กระแสรั่วไหลขนาดเล็กก็จะมีความกังวลอย่างมีนัยสำคัญในการใช้งานทางการแพทย์ เพราะการขาดการเชื่อมต่อกับกราวด์อย่างอุบัติเหตุสามารถทำให้กระแสเหล่านี้ ไหลเข้าส่วนสำคัญของร่างกายมนุษย์ ผลก็คือแหล่งจ่ายไฟทางการแพทย์จะถูกออกแบบให้มี ค่าความจุไฟฟ้าที่ต่ำ[7] เครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นสองและอุปกรณ์ไฟฟ้า Class II (เช่นเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือ) ไม่ได้มีการเชื่อมต่อใดๆกับกราวด์และได้รับการออกแบบให้แยกเอ้าท์พุทออกจากอินพุท ความปลอดภัยสามารถมั่นใจได้โดยการ double-insulation เพื่อที่ว่าความล้มเหลวของฉนวนพร้อมกันสองครั้งจึงจะทำให้เกิดการช็อก