การทำงาน ของ กฤตย์_รัตนรักษ์

บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน กรุณาช่วยปรับปรุงโดยการปรับแก้ให้มีลักษณะเป็นกลางและเป็นสารานุกรมมากขึ้น

กลุ่มรัตนรักษ์ถือเป็นหนึ่งในตระกูลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตระกูลหนึ่งในประเทศไทย [2] นายกฤตย์ เริ่มเข้าทำงานในธนาคารกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2540 ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานในปี พ.ศ. 2525 และเป็นประธานกรรมการบริหาร (CEO) ในปี พ.ศ. 2533 ในปี พ.ศ. 2536 เขาดำรงตำแหน่งประธานและประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ประธานบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, ประธานบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) และประธานบริษัท ศรีอยุธยา ประกันภัย [7] ต่อมาในช่วงปีพ.ศ. 2540 กลุ่มรัตนรักษ์ได้=j;p.shธุรกิจที่อยู่ใต้การบริหารทั้งหมดได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ได้สำเร็จ ส่งผลให้กลุ่มรัตนรักษ์ เป็นหนึ่งใน 8 ตระกูลนักธุรกิจชั้นนำในประเทศไทยจากที่เคยมีถึง 40 ตระกูล ให้ยังคงสามารถเป็นตระกูลมหาอำนาจทางธุรกิจตามการจัดอันดับในปี พ.ศ. 2552 [8]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กลุ่มรัตนรักษ์ได้ทำการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) โดยการขายส่วนของผู้ถือหุ้นที่กลุ่มถือหุ้นอยู่ให้แก่บริษัท Holderbank (หรือต่อมาคือ บริษัท Holcim) แต่ข่าวที่ออกสู่สาธารณะผิดพลาดจากความเป็นจริงไปว่าการขายหุ้นแก่บริษัท Holderbank นั้นเป็นไปเพื่อการระดมทุนไปใช้ในการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ดี ตามข้อตกลงที่แสดงไว้อย่างชัดเจนในเงื่อนไขการขายหุ้นดังกล่าว ว่าเงินทั้งหมดที่กลุ่มได้จากการขายหุ้นในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท Holderbank และรวมถึงทุนส่วนที่ทางกลุ่มรัตนรักษ์ได้ลงเข้าไปเพิ่มเติมนั้นต้องลงกลับเข้าไปเป็นทุนในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เท่านั้น ส่วนเงินทุนที่ทางกลุ่มได้ลงไปในการปรับโครงสร้างของธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้นก็มาจากทุนสำรองของกลุ่ม [9] ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้น 47% (สี่สิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์) ในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 3.2 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ ตามราคาตลาด โดยไม่มีหนี้ที่มีสาระสำคัญใดๆ ส่วนบริษัท Holcim ถือหุ้นอยู่ 27.5% (ยี่สิบเจ็ดจุดห้าเปอร์เซ็นต์) ของหุ้นทั้งหมด [10] ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2541 ก่อนการเข้าร่วมทุนกับบริษัท Holderbank กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้นอยู่ในบริษัทฯประมาณห้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของหุ้นทั้งหมด [11]

ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ธนาคารไทยหลายธนาคารต้องจำปิดกิจการหรือขายหุ้นให้ต่างชาติ กลุ่มรัตนรักษ์สามารถใช้กลไกการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้กลุ่มสามารถรักษากิจการไว้ได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงการดำเนินงานของธนาคารต่อมาภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย [12] ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีมูลค่าหุ้นในตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ [13] ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐในปี พ.ศ. 2557 [14] สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารของกลุ่มที่ลดลงจาก 35% (สามสิบห้าเปอร์เซ็นต์) [15] ไปเป็น 25% (ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์) [10] ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อที่จะดำเนินการตามกฎระเบียบการถือครองหุ้นที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2551 การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาของกลุ่ม เป็นไปโดยการเข้ามาถือหุ้นของบริษัท GE Capital ซึ่งทางกลุ่มได้มอบหมายให้ดูแลการบริหารงานธนาคารในปี พ.ศ. 2550 [16] เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของธนาคารต่อไป ในปี พ.ศ. 2556 บริษัท GE Capital ได้ทำการขายหุ้นส่วนที่บริษัทฯถือในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้แก่ธนาคาร MUFJ ธนาคารสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากขาดทุนของบริษัท GE Capital เองที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติธนาคารในปี พ.ศ. 2551 [17] ดังนั้นบริษัท GE Capital จึงต้องการลดความเสี่ยงในธุรกิจการบริการทางการเงินดังกล่าว [18] ในปี พ.ศ. 2557 กลุ่มรัตนรักษ์ ถือหุ้นอยู่ 25% (ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์) ของหุ้นทั้งหมดในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ส่วนที่เหลือถือโดยธนาคาร MUFJ [10]

กลุ่มรัตนรักษ์ได้ผ่านวิกฤติการณ์หลายครั้งแต่ก็ยังคงสามารถดำรงสถานะหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดห้าอันดับในประเทศไทย [12] และเป็นหนึ่งในสามตระกูลธนาคารที่มีอำนาจมากที่สุดในประเทศไทย ร่วมกับตระกูล โสภณพนิชและตระกูลล่ำซำ [19]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 กลุ่มรัตนรักษ์ได้เพิ่มการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยก่อตั้งบริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) และบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) และในธุรกิจสื่อโดยก่อตั้งบริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)

ปี พ.ศ. 2553ตามข้อมูลที่สื่อรายงาน ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มรัตนรักษ์วางแผนที่จะพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯบริเวณพระราม 3 ให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ[ต้องการอ้างอิง]

ปี พ.ศ. 2548ตามข้อมูล กฤตย์ รัตนรักษ์ ได้เข้ามามีบทบาทการบริหารสื่อสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 เต็มตัวครั้งแรกกำหนดทิศทาง วางนโยบายด้านต่าง ๆ และ การอนุมัติด้านละครรายการ/ละครโทรทัศน์ ขึ้นตรงกับบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาของช่องอนุมัติ โดยมีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานบอร์ดและเป็นผู้อนุมัติชี้ขาดเพียงแต่ผู้เดียว ผ่านบอร์ดช่อง 7และ ตั้งฝ่ายดูแลศิลปินนักแสดงสังกัดช่องขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2549
กฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของช่อง 7 เสมอมา และอยู่เบื้องหลังการบริหาร ช่อง 7 มาโดยตลอด นับแต่ปี 2548 เป็นต้นมาเป็นผู้อำนวยการผลิตละครโทรทัศน์ ช่อง 7 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2548
และ ในปี พ.ศ. 2548 ได้ดึง นายกฤตย์ รัตนรักษ์ชาลอต โทณวณิก ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสของธนาคารกรุงศรีอยุธยา เข้ามาร่วมบริหาร ช่อง 7 ด้านการตลาดและการจัดการธุรกิจ และ ดำรงตำแหน่งประธานบริหารบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ในเครือช่อง 7 (ปัจจุบันคือบริษัทมีเดีย สตูดิโอ จำกัด)และเป็นประธานกรรมการ บริษัท บีบีทีวี โปรดัคชันส์ จำกัด (บริษัทในเครือช่อง 7)นายชาลอต มีบทบาทร่วมบริหารด้านรายการและละครโทรทัศน์ และ ด้านนโยบายการตลาด ของช่อง 7ซึ่งในปัจจุบัน นายชาลอต ได้ตัดสินใจลาออกจากทุกตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว
นายกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นผู้ปลุกปั้นนักแสดงหลาย ๆ คน เช่น ปุณยาพร พูลพิพัฒน์, อุษามณี ไวทยานนท์, ฝนทิพย์ วัชรตระกูล, ศุกลวัฒน์ คณารศ, จีรนันท์ มะโนแจ่ม, พีชญา วัฒนามนตรี, อุษณีย์ วัฒฐานะ, เป็นต้นก่อนหน้านี้นายกฤตย์ ในปี พ.ศ. 2542 มีบทบาทครั้งสำคัญภายในช่อง 7 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ ลดทอนบทบาทการบริหารของตระกูล กรรณสูต และ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ให้มาอยู่ที่ตระกูล รัตนรักษ์โดยตั้งบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาและการบริหารเข้ามาร่วมตัดสินใจ ทำให้คุณแดงขาดอำนาจการตัดสินใจเพียงคนเดียวโดยทางนายกฤตย์ ส่งผู้บริหารฝ่ายของตนมาร่วมคุมการบริหารร่วมกับฝ่ายคุณแดงแต่ทว่า นายกฤตย์ ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทการบริหารด้วยตัวเอง เนื่องจากยังบริหารธุรกิจใหญ่ธนาคารกรุงศรีฯอยู่ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 นายกฤตย์จึงตัดสินใจเข้ามาบริหารอย่างเต็มตัวครั้งแรกเป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการบริหารครั้งใหญ่ภายในช่อง 7 อีกครั้ง ในหลาย ๆ ด้านและช่วงนั้นทางคุณแดงเริ่มถอยห่างจากการบริหาร เพียงแต่ยังร่วมบริหารแต่ในนามเท่านั้นแต่เบื้องหลังหาใช่การบริหารของคุณแดงไม่
การพิจารณาอนุมัติรายการโทรทัศน์/ละครโทรทัศน์/นวนิยาย ผ่านบอร์ดช่อง 7 เป็นผู้อนุมัติ
นับแต่ปี พ.ศ. 2548 ผม กฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารทุกด้านเบ็ดเสร็จ และ กลยุทธ์การบริหารจัดการอาทิ เช่น นโยบายการจัดตั้งฝ่ายดูแลศิลปินนักแสดงสังกัดช่องขึ้นมาโดยเฉพาะ
และ กลยุทธ์การปั้นนักแสดง รวมทั้งกลยุทธ์การถ่ายไปออกอากาศไป [20]

ตามข้อมูลที่นิตยสาร Forbes รายงาน มูลค่าสินทรัพย์ที่กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้นอยู่ในธุรกิจทั้งหมดคิดเป็นประมาณ 5.4 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ โดยวัดจากสินทรัพย์ที่แจ้งไว้ต่อสาธารณะและไม่รวมสินทรัพย์และที่ดินส่วนตัวอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2555 สื่อของประเทศไทยได้รายงานในหัวข้อ “ตระกูลไหนร่ำรวยที่สุด” ได้รายงานว่าเมื่อรวมสินทรัพย์อื่นๆแล้วกลุ่มรัตนรักษ์มีสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านดอลล่าห์สหรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541

แหล่งที่มา

WikiPedia: กฤตย์_รัตนรักษ์ http://www.bangkokpost.com/business/economics/2835... http://findarticles.com/p/articles/mi_qa3715/is_19... http://www.ft.com/intl/cms/s/3/d95e609c-a073-11e2-... http://www.nationmultimedia.com/2007/01/05/busines... http://www.nationmultimedia.com/2008/03/24/opinion... http://www.nationmultimedia.com/business/Ratanarak... http://www.siamcitycement.com/downloads/koobaan/20... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/... http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=...