กายวิภาค ของ กลีบข้าง

รูปไหว สมองกลีบข้างมีสีแดง อยู่ในสมองซีกซ้าย

สมองกลีบข้างล้อมรอบด้วยโครงสร้างทางกายวิภาค 4 ส่วน ได้แก่ ร่องกลาง (central sulcus) ที่แบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบหน้า, parieto-occipital sulcus (ร่องระหว่างสมองกลีบข้างและสมองกลีบท้ายทอย) ที่แบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบท้ายทอย, ร่องด้านข้าง (lateral sulcus) หรือร่องซิลเวียน (sylvian fissure) ซึ่งอยู่ด้านข้างมากที่สุด และแบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบขมับ, และ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ที่แบ่งสมองซีกซ้ายจากสมองซีกขวา. ในแต่ละซีกสมอง คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่ของเขตผิวหนังในด้านตรงกันข้ามของร่างกาย (เช่นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายในสมองซีกขวามีแผนที่ของเขตผิวหนังในร่างกายด้านซ้าย)[2]

ทันทีหลังจากร่องกลาง ซึ่งเป็นส่วนหน้าสุดของสมองกลีบข้าง ก็คือ รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) หรือเขตบร็อดแมนน์ 3 เป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary sensory cortex) และร่องหลังร่องกลาง (postcentral sulcus) แบ่งส่วนหน้าของสมองกลีบข้างนี้จากคอร์เทกซ์กลีบข้างด้านหลัง (posterior parietal cortex)

คอร์เทกซ์กลีบข้างด้านหลังสามารถแบ่งออกเป็น

IPS พร้อมกับรอยนูน (gyrus) ที่อยู่ติด ๆ กันยังสามารถแบ่งออกโดยความต่างกันของการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics) และความต่างกันโดยกิจ เป็นส่วนย่อย ๆ คือ ส่วนใน (medial, ตัวย่อ MIP) ส่วนข้าง (lateral, ตัวย่อ LIP) ส่วนล่างหรือส่วนท้อง (ventral, ตัวย่อ VIP) และส่วนหน้า (anterior, ตัวย่อ AIP)