รูปแบบการทำงาน ของ กล้องดีเอสแอลอาร์

ภาพตัดขวางของกล้อง D-SLR
  1. เลนส์กล้อง
  2. กระจกสะท้อน
  3. แผ่นบังเซนเซอร์
  4. เซนเซอร์รูปภาพ
  5.  
  6. เลนส์รวมแสง
  7. ปริซึมห้าเหลี่ยม
  8. เลนส์ใกล้ตาของช่องมองภาพ
หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ           หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ ปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่างๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด-ปิด ม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม


   หลักการทำงานของกล้องรูเข็ม

กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวดิจิทัล (D-SLR) ใช้กระจกสะท้อน สำหรับการแสดงภาพที่กำลังจะถ่ายผ่านช่องมองภาพ ภาพตัดขวางด้านซ้ายมือ นั่นแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของแสงที่เดินทางผ่านเลนส์ (1) และสะท้อนผ่านกระจกสะท้อนภาพ (2) และ ฉายบนแผ่นปรับโฟกัส (5) จากนั้นลดขนาดภาพผ่าน เลนส์ลดขนาดภาพ (6) และสะท้อนใน ปริซึมห้าเหลี่ยม ทำให้ภาพปรากฏที่ช่องมองภาพ (8) เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ จะทำให้กระจกสะท้อนจะกระเด้งตามลูกศรขึ้นไป และช่องระนาบโฟกัส (3) เปิดออก และภาพฉายลงบน เซ็นเซอร์รับภาพ (4) เช่นเดียวกับที่ปรากฏบนระนาบโฟกัส

   ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพส่วนประกอบและการทำงานของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ          1. ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่านชั้นของเยื่อที่เรียกว่าคอร์เนีย (Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีระบบกลไก เปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังแกหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตาหรือพิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่างๆ กันโดยอัตโนมัติ เช่น ในที่ๆ มีแสงสว่างมากรูม่านตามจะปรับให้มีขนาดเล้ก ส่วนในที่ๆ มีแสงสลัวๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น           2. ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสง ได้แก่ ฟิล์มส่วนในดวงตา ได้แก่ จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา (Retina) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานประสาท ประกอบด้วยเส้นประสาทไวต่อแสงและเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว 

ใกล้เคียง

กล้อง กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กล้องจุลทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ กล้องโทรทรรศน์ซูบารุ กล้องโทรทรรศน์ กล้องไร้กระจก กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์