ผลงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ของ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

ผลงานชิ้นแรกคือภาพที่ส่งมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ภาพที่เด่นที่สุดคือ ดาราจักรรูปเกลียว M 81 ซึ่งอยู่ทางเหนือของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ไกลจากโลก 12 ล้านปีแสง แสดงความสามารถของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ในการถ่ายภาพอวกาศที่ถูกปกคลุมด้วยกลุ่มก๊าซที่หนาแน่นซึ่งกล้องโทรทรรศน์แสงไม่สามารถมองเห็นได้ ทำให้เห็นการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์และเห็นใจกลางของดาราจักร

เนื่องจาก Spitzer เป็นกล้องที่เน้นสำรวจแหล่งกำเนิดอินฟราเรด ดังนั้น Spitzer จึงมักใช้สำรวจวัตถุอุณหภูมิต่ำเช่น สเปกตรัมของแสงจากวัตถุประเภทดาวเคราะห์ หรือระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ตัวอย่างการค้นพบที่สำคัญคือ การค้นพบองค์ประกอบไอน้ำบนดาวเคราะห์ HD 209458 b โดยใช้เครื่องรับรู้อินฟราเรดย่าน 7.5 - 13.2 ไมโครเมตร

ใกล้เคียง

กล้อง กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กล้องจุลทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ กล้องโทรทรรศน์ซูบารุ กล้องโทรทรรศน์ กล้องไร้กระจก กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์