ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกวางป่าและญาติ ของ กวางป่า

จากการวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์แสดงญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของกวางป่า อาจเป็นกวางรูซ่า (R. timorensis) ที่กระจายพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซีย[3] ซึ่งมีรายงานสนับสนุนที่ว่ากวางป่าสามารถผสมพันธุ์กับกวางรูซ่าและให้กำเนิดลูกผสมที่สามารถสืบพันธุ์ได้ และมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของกวางป่าจากสมัยสมัยไพลสโตซีนตอนต้น แม้ว่าจะมีการค้นพบกวางดึกดำบรรพ์ที่คล้ายกว่าป่าจากสมัยไพลโอซีน แต่กวางชนิดนี้กลับคล้ายกวางในปัจจุบันน้อยมาก กวางป่าได้รับการเสนอว่าอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในเอเชียใต้ ภายหลังจึงกระจายพันธุ์ไปยังถิ่นอาศัยในปัจจุบัน [4] จากการขุดค้นสำรวจของ ดร.เชตเตอร์ เกอร์แมน นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้สำรวจบริเวณถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบหลักฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 1,200 ปี ซึ่งจัดเป็นพวกเดียวกับวัฒนธรรมหันบินห์หรือฮัอบินเหียนในเวียดนาม พบกระดูกของกวางป่า, แมวป่า, กระรอก, ปู, ปลา, หอย พบเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น หมาก[5]

นอกจากนี้แล้ว ลูกผสมระหว่างกวางป่าและกวางรูซ่า ยังให้ผลผลิตที่ดี เป็นสัตว์เศรษฐกิจ[6]