กองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต

กองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต (อังกฤษ: United Nations Iraq–Kuwait Observation Mission; อักษรย่อ: UNIKOM) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 หลังจากเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียโดยข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 689 (ค.ศ. 1991) และนำไปใช้อย่างเต็มที่ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1991ภารกิจของผู้สังเกตการณ์ทางทหาร 300 คนคือการเฝ้าระวังเขตปลอดทหาร (DMZ) ตามแนวชายแดนอิรัก–คูเวต และทางน้ำเคาร์อับดุลอัลลอฮ์ โดยยับยั้งการละเมิดชายแดนและรายงานการกระทำที่มีเจตนาร้าย ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 806 อำนาจที่ได้รับมอบหมายได้รับการขยาย เพื่อรวมถึงการกระทำทางกายภาพเพื่อป้องกันการละเมิดและกองทหารที่ได้รับการขยายสู่สามกองพันทหารราบยานยนต์พร้อมการสนับสนุนซึ่งได้วางแผนไว้อำนาจที่ได้รับมอบหมายของกองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต ได้เสร็จสิ้นวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2006สำนักงานใหญ่ของกองทัพอยู่ในอุมกัศร์ ประเทศอิรัก ภายในเขตปลอดทหาร จำนวนกำลังสูงสุดคือ 1,187 คนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ขยายอำนาจที่ได้รับมอบหมายออกเป็นครั้งสุดท้ายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 โดยในช่วงเวลาของการถอนตัวในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2003 มีผู้สังเกตการณ์ทางทหารสี่คนและเจ้าหน้าที่พลเรือน 131 คน และในระหว่างการปฏิบัติภารกิจมีผู้เสียชีวิต 18 คนผู้มีส่วนร่วมคืออาร์เจนตินา, ออสเตรีย, บังคลาเทศ (รวมถึงกองพันทหารราบยานยนต์), แคนาดา, ชิลี, จีน, เดนมาร์ก, ฟิจิ, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, กานา, กรีซ, ฮังการี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไอร์แลนด์, อิตาลี, เคนยา, มาเลเซีย, ไนจีเรีย, นอร์เวย์, ปากีสถาน, โปแลนด์, โรมาเนีย, สหพันธรัฐรัสเซีย (สหภาพโซเวียตก่อนวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1991), เซเนกัล, สิงคโปร์, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ไทย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, อุรุกวัย และเวเนซุเอลา นอกจากนี้ ระหว่างขั้นตอนการจัดตั้ง (เมษายน–ตุลาคม ค.ศ. 1991) กองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต รวมถึงกองเหล่าทหารช่างแคนาดา (1 CER) กองพันรักษาความปลอดภัยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่บีเอ็นระหว่างประเทศ (SWE-FIN-NOR) และห้ากองร้อยทหารราบ ได้มาจากกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติในไซปรัสและกองกำลังเฉพาะกาลของสหประชาชาติในเลบานอน กองกำลังเหล่านั้นจัดหาให้โดยออสเตรีย, เดนมาร์ก, ฟีจี, กานา และเนปาล นอกจากนี้ยังมีหน่วยบำรุงรักษา/ซ่อมแซมและกู้คืนจากนอร์เวย์ รวมทั้งกองบัญชาการกองร้อยขนส่งจากสวีเดนที่มาจากกองกำลังเฉพาะกาลของสหประชาชาติในเลบานอน

ใกล้เคียง

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (พม่า) กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น กองกำลังตำรวจพม่า กองกำลังป้องกันติมอร์-เลสเต กองกำลังตำรวจบรูไน กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก กองกำลังพิทักษ์ชายแดน กองกำลังสนาม