กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539[2] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชเมื่อออกจากราชการ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และเพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกกบข. สนับสนุนให้มีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังภาครัฐที่ดี จัดสรรงบประมาณรองรับภาระรายจ่ายด้านบำเหน็จบำนาญอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ข้าราชการสมาชิกมีเงินออมเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งคณะกรรมการและสำนักงาน ได้มุ่งมั่นดำเนินงานให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเต็มที่ ทำให้ กบข. ได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจนเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากกว่า 1 ล้านคน กบข. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยมีคณะกรรมการกองทุน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนตลอดจนกำหนดนโยบายการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงต่าง ๆ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

วันก่อตั้ง 27 มีนาคม พ.ศ. 2540
ในกำกับดูแลของ กระทรวงการคลัง
เอกสารหลัก พระราชบัญญัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
ผู้บริหารหลัก ดร.สมชัย สัจจพงษ์, ประธานกรรมการ
ศรีกัญญา ยาทิพย์[1], เลขาธิการ
ยิ่งยง นิลเสนา, รองเลขาธิการ
ศรีกัญญา ยาทิพย์, รองเลขาธิการ
นัชชา พรตปกรณ์, รองเลขาธิการ

ใกล้เคียง

กองทุนรวม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ กองทุนไตอเมริกัน กองทุนถาวรอะแลสกา กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ