ประวัติ ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

การปราบปรามคอมมิวนิสต์

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2508 มีการก่อตั้ง กองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (บก.ปค.) ด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐเพื่อประสานงานปฏิบัติการต่อต้านคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ[8][9]

ผู้นำนักศึกษา ธีรยุทธ บุญมี แสดงหลักฐานว่าการทำลายบ้านนาทราย ในอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายนั้นเป็นผลงานของ บก.ปค.[10]

หน่วยงานดังกล่าวมีแนวคิดว่าการใช้การปราบปรามการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ด้วยอาวุธอย่างเดียวไม่พอ และมีทัศนะว่าสาเหตุรากเหง้าเกิดจากความไม่เสมอภาคทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง สหรัฐช่วยพัฒนายุทธศาสตร์การรุกทางการเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชนบท การจัดตั้งมวลชนและปฏิบัติการจิตวิทยา เงินช่วยเหลือของสหรัฐสมประโยชน์ของผู้นำกองทัพและใช้เสริมกำลังให้แก่ระบอบทหารในประเทศ สหรัฐยังช่วยยกสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยเพื่อใช้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ รัฐบาลทหารเร่งปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อทำให้พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดของไทย[3]

กอ.รมน.

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ได้แปรสภาพเป็น กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) จากนั้น พ.ศ. 2516 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยยังคงมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์ฯ[11] ซึ่งถึงแม้ว่าหน่วยงานอยู่ใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในนาม แต่อำนาจสั่งการแท้จริงอยู่ที่กองทัพ[3]

ต่อมาภายหลัง พ.ศ. 2525[12] ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์มีน้อยลง และมีการปรับปรุงโครงสร้าง ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้ปรับบทบาทของ กอ.รมน. ให้ปฏิบัติภารกิจทางด้านป้องกันปราบปรามยาเสพติด การจัดระเบียบและเสริมความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ปัญหาความข้องแย้งโดยสันติวิธี (หน่วยสันตินิมิต) การปฏิบัติงานด้านการข่าว และการปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)[13]

เมื่อ พ.ศ. 2544 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลดปรับลดบทบาทของ กอ.รมน. ลง โดยเฉพาะด้านการแก้ไขความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และเพิ่มบทบาทด้านการประสานงาน มีการปรับโครงสร้าง กอ.รมน. จากเดิมมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็น รอง ผอ.รมน. โดยตำแหน่ง และปรับเพิ่มตำแหน่ง ดังนี้

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

หลังรัฐประหารปี 2557

ปัจจุบันมโนทัศน์ภัยคุกคามของ กอ.รมน. ได้ขยายรวมไปถึงเรื่องชนกลุ่มน้อยและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย การลักลอบค้ายาเสพติด อาชญากรรมไซเบอร์ การก่อการร้าย การทำลายป่าและความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ผู้มีอิทธิพลและแก๊งมาเฟีย และภัยธรรมชาติ การวิจารณ์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังถือว่าเป็นอาชญากรรมฐานปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง นอกจากนี้ ยังคงมีบทบาทในการ "พัฒนาชาติ" ซึ่งรวมถึงกิจการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างกว้างขวาง[3]

รัฐบาลประยุทธ์แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ โดยยก กอ.รมน. ให้เป็นแม่ข่ายในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งยังทำให้ กอ.รมน. เป็นผู้ควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งหมด โดยสำนักงบประมาณมีหน้าที่ต้องจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานดังกล่าวด้วย และให้หน่วยงานของรัฐจัดสรรคนมายังหน่วยงานตามที่มีการร้องขอ[14] กฎหมายใหม่ยังตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงและผู้บังคับบัญชาหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ทำหน้าที่คู่ขนานไปกับสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่มีอยู่แล้ว[14] ภารกิจของ กอ.รมน. ถูกวิจารณ์ว่า สามารถกำหนดเองได้ว่าสถานการณ์ใดเป็นภัยคุกคาม และในอนาคตอาจเป็น "รัฐบาลน้อย" เพราะมีอำนาจรอบด้านไม่ต่างจากรัฐบาลที่ควบคุมประเทศอยู่[14]

เดือนพฤศจิกายน 2561 มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ตั้งคณะกรรมการบริหารความมั่นคงภายในภาค และคณะกรรมการบริหารความมั่นคงภายในจังหวัด โดยให้ทหารดำรงตำแหน่งประธาน และมีตำรวจและข้าราชการพลเรือนเป็นรองประธาน ทำให้เกิดข้อวิจารณ์ว่ากองทัพอาจใช้เพื่อออกคำสั่งด้วยเหตุผลทางการเมือง[6]

เดือนมิถุนายน 2562 โฆษก กอ.รมน. ออกมาแถลงว่า กอ.รมน. รับโอนหน้าที่ของ คสช. หลังหมดอำนาจ[15]ในเดือนเมษายน​ ปี​ ​2563​ มีการจัดตั้ง​ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง​ (กอ.รมน.)​ขึ้น

ใกล้เคียง

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองอำนวยการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ (แอลจีเรีย) กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองอำนวยบังคับใช้กฏหมายยาเสพติด กองอาสารักษาดินแดน กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (พม่า) กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งที่มา

WikiPedia: กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร http://72.14.209.104/search?q=cache:Ty0mUjArhCcJ:w... http://pages.citebite.com/v1y8j7i9g0hsu http://www.1374.org/page4.html http://contemporarythinkers.org/charles-murray/ess... //www.worldcat.org/issn/0219-3213 http://www.spp.nus.edu.sg/docs/wp/wp0508.pdf http://www.massisoc.isoc.go.th/ http://www.isoc.go.th/ http://www.isocthai.go.th/SorBorKor/training_15May... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/...