องค์ประกอบ ของ กันทาริยามหาเทวมนเทียร

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมฮินดูที่ปรากฏบนกันทาริยามหาเทวมนเทียร

กันทาริยามหาเทวมนเทียรมีความสูง 31 เมตร (102 ฟุต) และตั้งอยู่ในหมู่มนเทียรทางตะวันตก มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาทั้งสามกลุ่มของโบราณสถานแห่งขชุราโห[12] หมู่มนเทียรตะวันตกซึ่งประกอบด้วยมนเทียรกันทาริยา, มตังเกศวร (Matangeshwara) และ วิศวนาถ นั้นมีการจัดเรียงที่เปรียบได้กับ "การออกแบบจักรวาลหกเหลี่ยม (ยันตระ หรือภาพเขียนของจักรวาล)" อันสื่อถึงสามรูปของพระศิวะ[5] สถาปัตยกรรมของมนเทียรประกอบด้วยระเบียงและหอคอยที่สุดท้ายบรรจบกันเป็นศิขระ องค์ประกอบซึ่งพบได้ทั่วไปในศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมาในโดยเฉพาะในพื้นที่อินเดียกลาง[12]

มนเทียรตั้งอยู่บนฐานขนาดมหึมา ความสูง 4 เมตร (13 ฟุต)[13] ส่วนโครงสร้างของมนเทียรบนฐานนั้นออกแบบและก่อสร้างอย่างชาญฉลาดและวิจิตรตระการตา[14] โครงสร้างหลักนั้นสร้างในรูปของภูเขาชัน (steep mountain) สัญลักษณ์สื่อถึงเขาเมรุ ที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจุดที่มาของการสร้างโลก[8] โครงสร้างหลักนั้นประกอบด้วยหลังคาที่มีการประดับประดาอย่างวิจิตร ฐานมีขนาดใหญ่ก่อนจะบรรจบกันด้านบนในรูปของศิขระ ประกอบด้วยยอดขนาดเล็กย่อย ๆ อีก 84 ยอด[4]

ใกล้เคียง

กันทาริยามหาเทวมนเทียร กินทามะ กันยายน พ.ศ. 2548 กันยายน พ.ศ. 2549 กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ กินทามะ (ฤดูกาลที่ 1) กันยายน กินทามะ (ฤดูกาลที่ 4) กินทามะ (ฤดูกาลที่ 2) กินทามะ (ฤดูกาลที่ 3)

แหล่งที่มา

WikiPedia: กันทาริยามหาเทวมนเทียร http://www.aai.aero/allAirports/khajuraho_generali... http://www.britannica.com/place/Kandarya-Mahadeva http://greatancientindia.com/kandariya-mahadeva-te... http://www.orientalarchitecture.com/india/khajurah... http://www.tribuneindia.com/1999/99mar20/saturday/... http://personal.carthage.edu/jlochtefeld/picturepa... http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00rou... http://shodhganga.inflibnet.ac.in/bitstream/10603/... http://education.asianart.org/explore-resources/ba... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...