บุคคลน่าสนใจที่ใช้เทคนิคนี้ ของ การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในมนุษย์

เบ็น อันเดอร์วูด

เบ็น อันเดอร์วูด ผู้มีตาบอดตั้งแต่ยังเป็นทารก สามารถใช้เสียงสะท้อนในการกำหนดสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวตั้งแต่วัยเยาว์

เบ็น อันเดอร์วูดเป็นเด็กชาวอเมริกันที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีมะเร็งในจอตาตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จึงได้ผ่าตัดนัยน์ตาออกเมื่อถึงอายุ 3 ขวบ[13]เขาได้เริ่มใช้เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนตั้งแต่อายุ 5 ขวบ สามารถที่จะรู้ตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ โดยทำเสียงกริ๊ก ๆ ด้วยลิ้น รายการโทรทัศน์ "20/20 เรื่องลึกลับทางแพทย์"[14] ได้อธิบายเรื่องของเบ็นไว้ เบ็นสามารถใช้ความสามารถนี้ในการวิ่งเล่น เล่นบาสเกตบอล ขี่จักรยาน เล่นโรลเลอร์เบลด เล่นอเมริกันฟุตบอล และเล่นสเกตบอร์ด[15][16] คุณหมอของเบ็นผู้เป็นจักษุแพทย์สำหรับเด็กยืนยันว่า เบ็นเป็นบุคคลที่มีความชำนาญที่สุดคนหนึ่งในการใช้เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน

เบ็นได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2009 เมื่อถึงวัย 16 ปี เพราะโรคมะเร็งที่เริ่มแรกทำให้เขาสูญเสียตาไป[17]

ผู้กำกับหนังชาวโปแลนด์ชื่อว่า Andrzej Jakimowski เจอกับเบ็นและได้รับแรงบันดาลใจจากเบ็น ในปี ค.ศ. 2012 เขาได้สร้างหนังเรื่อง จินตนาการ (Imagine)[18] เกี่ยวกับชายผู้ชื่อว่า "ไอแอน" ผู้เป็นครูสอนวิธีกำหนดทิศทางในพื้นที่ ผู้ได้เดินทางไปถึงคลินิกลิสบอนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกในการรักษาคนไข้มีสายตาเสียหาย เพื่อที่จะไปทำงานกับคนตาบอด แพทย์ที่เป็นหัวหน้าได้ว่าจ้างไอแอนโดยมีเงื่อนไขว่า คนไข้ต้องไม่มีอันตรายในขณะที่เรียนรู้การใช้เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนที่ไอแอนสอน เพื่อจะไปในที่ต่าง ๆ ด้วยตนเอง

แดเนียวล์ คิช

เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยชาวอเมริกันชื่อว่า แดเนียวล์ คิช ผู้ทำงานกับคนตาบอดโดยพาเด็กวัยรุ่นตาบอดไปเดินหรือไปขี่จักรยานเที่ยวไปในที่ที่ไม่มีคน แล้วสอนเด็กให้รู้จักการหาทางไปในที่ใหม่ ๆ อย่างปลอดภัยด้วยเทคนิคที่คิชเรียกว่า Flash Sonar (โซนาร์ฉับพลัน)[19] โดยทำงานเป็นส่วนขององค์กรการกุศล World Access for the Blind (โอกาสในการเข้าถึงโลกเพื่อคนตาบอด)[20] คิชผ่าตัดดวงตาออกเมื่ออายุ 13 เดือนเนื่องจากโรคมะเร็งจอตา เขาจึงได้เรียนรู้วิธีการใช้ลิ้นทำเสียงกริ๊ก ๆ ที่เพดานปากเมื่อยังเป็นเด็ก และปัจจุบันสอนคนตาบอดผู้อื่นในเทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน ด้วยวิธีที่เขาเรียกว่า Perceptual Mobility (การเดินทางไปได้อาศัยการรับรู้)[21]แม้ว่าในตอนแรก คิชต่อต้านการใช้ไม้เท้า (สำหรับคนตาบอด) เพราะเห็นว่าเป็นอุปกรณ์เพื่อคนพิการและพิจารณาตนเองว่า "ไม่ใช่คนพิการโดยประการทั้งปวง" ภายหลังคิชได้พัฒนาเทคนิคการใช้ไม้เท้าร่วมกับการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการไปที่ต่าง ๆ ของเขา[21]

คิชรายงานว่า "ภาพที่เกิดในใจนั้นมีความสมบูรณ์มากสำหรับผู้ที่มีความชำนาญ จนสามารถที่จะรู้สึกถึงความงดงาม ความปล่าวเปลี่ยว หรือความรู้สึกอื่น ๆ (เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม) ทั้งที่มาจากเสียงและเสียงสะท้อน"[19] คิชสามารถที่จะแยกแยะรั้วที่เป็นโลหะจากที่เป็นไม้จากเสียงสะท้อน เพราะรูปแบบโครงสร้างของรั้ว นอกจากนั้นแล้ว ในที่เงียบมาก เขาสามารถได้ยินความแตกต่างกันระหว่างเสียงสะท้อนของไม้กับของโลหะ[19]

ทอม เดอวิทต์

ทอม เดอวิทต์ เกิดในปี ค.ศ. 1979 ในประเทศเบลเยียม เป็นโรคต้อหินแต่กำเนิดในตาทั้งสองข้าง เมื่อเยาว์วัย เดอวิทต์มีท่าทีว่าจะสามารถพัฒนาเป็นนักดนตรี (เป่าขลุ่ย) ที่จะประสบความสำเร็จได้ต่อไป จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2005 ที่เขาต้องเลิกล้มความตั้งใจนั้นเสียตาของเดอวิทต์ได้บอดอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เนื่องจากปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คิชเป็นผู้สอนเทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนให้กับเขา เขาเป็นที่รู้จักดีจนกระทั่งว่าสื่อมวลชนได้ตั้งชื่อเล่นให้กับเขาว่า "มนุษย์ค้างคาวจากประเทศเบลเยียม"[22]

ดร. ลอเร็นซ์ สแก็ดเด็น

ดร. สแก็ดเด็นได้เขียนบันทึกประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับการมีตาบอด[23] เขาไม่ได้เกิดมาตาบอด แต่สูญเสียสายตาของเขาเนื่องจากโรคตั้งแต่วัยเด็ก เขาได้เรียนรู้การใช้การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนดีจนกระทั่งสามารถขี่จักรยานได้ในถนน (ในขณะที่บิดามารดาของเขาคิดว่าเขายังพอมองเห็นได้บ้าง)ภายหลัง เขาได้เข้าร่วมกับงานวิจัยเกี่ยวกับ "การเห็นด้วยใบหน้า" (White, et al. 1970)ประมาณปี ค.ศ. 1998 เขาได้ไปเยี่ยมแล็บประสาทพฤติกรรมวิทยาเกี่ยวกับการได้ยิน (Auditory Neuroethology Laboratory) ที่มหาวิทยาลัยรัฐแมรีแลนด์ และได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับการเห็นด้วยใบหน้าในตอนนั้น นักวิจัยที่แล็บกำลังศึกษาการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในค้างคาว และมีการตระหนักรู้ถึงปรากฏการณ์ Wiederorientierung ที่กริฟฟินได้พรรณนาไว้ในปี ค.ศ. 1959 ว่า แม้ว่าค้างคาวจะส่งเสียงร้องอยู่เรื่อย ๆ แต่กลับใช้วิธีกำหนดจุดสังเกตด้วยตาเพื่อกำหนดทิศทาง (dead reckoning) ในสถานที่คุ้นเคย ไม่ได้ใช้ข้อมูลจากเสียงสะท้อนดร. สแก็ดเด็นได้ให้ความเห็นว่า วิธีการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนต้องใช้ความพยายามมาก ดังนั้น ตัวเขาเองจะไม่ใช้เทคนิคนั้นเพื่อการนำทางในที่ที่คุ้นเคยนอกจากจะเกรงว่า อาจมีอุปสรรคอยู่ในที่นั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ให้ไอเดียเกี่ยวกับพฤติกรรมของค้างคาว

ในประเทศสหรัฐอเมริกา องค์กรพันธมิตรวิทยาศาสตร์ส่วนภูมิภาค (Regional Alliance of Science) องค์กรวิศวกรรมและคณิตศาสตร์เพื่อนักเรียนพิการ (Engineering and Mathematics for Students with Disabilities) องค์กรการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อนักเรียนพิการ (Science Education for Students With Disabilities) และสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Teachers Association) ได้ก่อตั้งรางวัลลอเร็นซ์-เอ-สแก็ดเด็นเพื่อครูดีเด่นประจำปีเพื่อนักเรียนพิการเป็นเกียรติคุณเพื่อเขา

ลูคัส เมอร์เรย์

ลูคัส เมอร์เรย์ ชาวอังกฤษผู้มาจากมณฑลดอร์เซต เกิดมาตาบอด เป็นที่เชื่อกันว่า เมอร์เรย์เป็นคนหนึ่งใบบรรดาคนอังกฤษคนแรก ๆ ที่เรียนรู้การ "เห็น" สิ่งแวดล้อมด้วย echolocation เขาเป็นนักเรียนคนหนึ่งของแดเนียวล์ คิช

เควิน วอร์วิก

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า เควิน วอร์วิก ทำการทดลองโดยป้อนคลื่นเสียงความถี่สูง (เหมือนที่ใช้ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์) เข้าไปในสมองโดยใช้วิธีกระตุ้นทางไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ในสมอง[24] เพื่อเป็นทางประสาทรับรู้อีกทางหนึ่ง่ช่วงที่อยู่ในการทดลอง เขาสามารถที่จะกำหนดระยะทางจากวัตถุต่าง ๆ และสามารถรู้ถึงการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของวัตถุเหล่านั้น[25]

ฮวน รุยส์

ชาวอเมริกันชื่อว่า ฮวน รุยส์ ปรากฏในรายการ "ซูเปอร์มนุษย์ของสแตน ลี (Stan Lee's Superhumans)" ในตอนแรกที่มีชื่อว่า "มนุษย์อิเล็กโทร (Electro Man)" รุยส์อยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และเกิดมาตาบอด ในรายการนั้น เขาแสดงความสามารถในการขี่จักรยานหลบหลีกรถยนต์ที่จอดอยู่และอุปสรรคอื่น ๆ และกำหนดวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ สามารถเข้าออกจากถ้ำที่เขาสามารถกำหนดความลึกและลักษณะอย่างอื่น ๆ ได้

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในมนุษย์ http://www.gva.be/regio-antwerpen-zuid/niel/straf-... http://www.uwo.ca/its/brain/ReadersDigest_BatManSt... http://www.amazon.com/Surpassing-Expectations-Life... http://www.benunderwood.com/index.html http://www.cbsnews.com/stories/2006/07/19/earlysho... http://abcnews.go.com/Primetime/story?id=2283048&p... http://books.google.com/books?vid=ISBN0891289461&i... http://www.humanecholocation.com http://www.mensjournal.com/the-blind-man-who-taugh... http://www.newscientist.com/article/mg20227031.400...