การคลอดลำบาก

การคลอดลำบาก (อังกฤษ: Dystocia) เป็นความผิดปกติของการคลอดหรือการเจ็บครรภ์ที่ช้าหรือยากกว่าปกติ ประมาณการณ์ว่าทุก 1 ใน 5 ของการเจ็บครรภ์คลอดเป็นการคลอดลำบาก ภาวะนี้อาจเกิดจากการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อมดลูก ทารกอยู่ในท่าหรือส่วนนำที่ผิดปกติ สัดส่วนของศีรษะทารกและเชิงกรานมารดาไม่ได้สัดส่วนกัน หรือที่พบน้อยมากคือเนื้องอกของทารกในครรภ์ขนาดใหญ่เช่นเนื้องอกวิรูปบริเวณก้นกบร่วมกระเบนเหน็บ (sacrococcygeal teratoma)ออกซีโทซิน (Oxytocin) มักใช้เป็นยาเพื่อแก้ไขการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อมดลูก อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างการคลอดลำบากมักจบลงด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดเช่นคีม เครื่องดูดสุญญากาศ หรือการผ่าท้องทำคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในการคลอดลำบากได้แก่ทารกเสียชีวิต การกดการหายใจของทารก โรคสมองขาดเลือด (Hypoxic Ischaemic Encephalopathy; HIE) และเส้นประสาทในข่ายประสาทแขนบาดเจ็บ ภาวะที่สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดลำบากคือ ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้งยาวนานผิดปกติ (prolonged interval between pregnancies), หญิงมีครรภ์แรก, และการตั้งครรภ์แฝด[1]การคลอดไหล่ยาก (Shoulder dystocia) เป็นการคลอดยากชนิดหนึ่งซึ่งไหล่หน้าของทารกไม่สามารถผ่านแนวประสานกระดูกหัวหน่าว (pubic symphysis) หรือต้องอาศัยการดึงอย่างมากเพื่อให้ไหล่ผ่านใต้แนวประสานกระดูกหัวหน่าว

ใกล้เคียง

การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น การคลอดก่อนกำหนด การคลังสาธารณะประเทศออสเตรเลีย การคลอด การคลุมถุงชน การคลังสาธารณะประเทศอังกฤษ การคลอดติดไหล่ การคลอดท่าก้น การคลอดลำบาก การคลอดทางช่องคลอด