การคำนวณเชิงอารมณ์

การคำนวณเชิงอารมณ์ (อังกฤษ: Affective computing) เป็นการศึกษาว่าด้วยการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ที่สามารถรู้จำ แปรผล ประมวลผล และจำลองอารมณ์ของมนุษย์ได้ เป็นสหสาขาที่ผสมผสานกันระหว่างวิทยาการคอมพิวเตอร์ จิตวิทยา และประชานศาสตร์[1] สาขาการคำนวณเชิงอารมณ์สมัยใหม่นี้เริ่มจากคำนิยามของ โรซาไลนด์ พิการ์ด นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ที่เริ่มใช้คำนี้ในผลงานวิจัยปี ค.ศ. 1995[2] เกี่ยวกับการคำนวณเชิงอารมณ์[3][4] แรงบันดาลใจของงานวิจัยสายนี้คือความต้องการที่จะจำลองความเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นของมนุษย์ ต้องการมีเครื่องจักรที่สามารถแปลผลสถานะของอารมณ์ของมนุษย์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตอบสนองกับอารมณ์นั้นๆของมนุษย์อย่างเหมาะสม

ใกล้เคียง

การคำนวณเชิงอารมณ์ การคำนวนหลังจดหมาย การคำนวณ การคำนวณแบบคลาวด์ การคำนวณเลนส์บาง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ การค้าประเวณี การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การชำระเลือดผ่านเยื่อ