การจัดการภาวะวิกฤต

การจัดการภาวะวิกฤต (อังกฤษ: Crisis management) คือกระบวนการที่องค์กรจัดการกับเรื่องยุ่งและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ที่อาจคุกคามสู่ความอันตรายขององค์กรหรือผู้มีผลประโยชน์[1] การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการภาวะวิกฤตเริ่มต้นขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมและหายนะทางสิ่งแวดล้อมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[2][3] และยังถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการประชาสัมพันธ์[3]สามองค์ประกอบของภาวะวิกฤตคือ (1) คุกคามต่อองค์กร, (2) มีส่วนประกอบที่สร้างความประหลาดใจ และ (3) ต้องใช้การตัดสินใจในระยะเวลาสั้น ๆ[4] แต่เวเนตต์แย้งว่า "วิกฤตเป็นกระบวนการที่แปรเปลี่ยนที่ระบบเก่าไม่สามารถคงอยู่ได้ ดังนั้นคุณลักษณะนิยามที่ 4 คือ ต้องการ การเปลี่ยนแปลง หากไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์นั้นอาจนิยามได้อย่างถูกต้องมากกว่า ว่าเป็นความล้มเหลวหรืออุบัติการณ์"[5]ในทางกลับกัน การบริหารความเสี่ยง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินแนวโน้มสิ่งคุกคามและหาหนทางที่ดีที่สุดเพื่อหนีปัญหาเหล่านั้น การจัดการภาวะวิกฤตเกี่ยวข้องกับการจัดการก่อน ระหว่าง และหลังสิ่งคุกคาม ที่ประสบ มีข้อบังคับความสำคัญต่อบริบทในการจัดการ อันประกอบด้วยความชำนาญและเทคนิคที่จะบ่งชี้ ประเมิน เข้าใจ และรับมือกับสถานการณ์อันตึงเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงในเริ่มเกิดขึ้น ไปถึงจุดขั้นตอนการฟื้นฟู

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์