ประวัติ ของ การจัดการโครงการ

ทหารโรมันก่อสร้างป้อมปราการ

การจัดการโครงการได้ถูกพัฒนาจากหลากหลายสาขารวมถึง การก่อสร้าง วิศวกรรม และการทหาร[6] บิดาแห่งวงการจัดการโครงการได้แก่ เฮนรี แกนต์ (Henry Gantt) [7] ซึ่งเป็นผู้ใช้แกนต์ชาร์ต(หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Harmonogram ซึ่งถูกเสนอเป็นครั้งแรกโดย Karol Adamiecki[8])เป็นเครื่องมือในการจัดการโครงการ และคนที่สองคือ เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) ผู้บุกเบิกในด้านการจัดการโครงการด้วยการคิดค้น 5 หลักการทำงานด้านการจัดการ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของความรู้ในการจัดการโครงการ[9] ทั้ง แกนต์และฟาโยลเป็นลูกศิษย์ของเฟเดอริก วินส์โล เทเลอร์ (Frederick Winslow Taylor) ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี การจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific management) ซึ่งงานของเขาเป็นการบุกเบิกเครื่องมือในการจัดการโครงการสมัยใหม่ รวมถึง การทำโครงสร้างรายละเอียดของงานต่างๆในโครงสร้าง (work breakedown structure; WBS) และการเคลื่อนย้ายทรัพยากร (resource allocation)

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการเริ่มต้นของยุคของการจัดการโครงการสมัยใหม่ที่วิศวกรรมหลากหลายสาขาในโครงการได้มาทำงานเป็นทีมเดียวกัน หลังจากนั้นการจัดการโครงการกลายเป็นหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากหลักการในการจัดการทางวิศวกรรม[10] ก่อนปีค.ศ. 1950 ในประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดการโครงการส่วนใหญ่ใช้แกนต์ชาร์ต, เทคนิคและเครื่องมือเฉพาะตัวต่างๆมากมาย ในช่วงเวลาขณะนั้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับวางแผนระยะเวลาต่างๆในโครงการ 2 แบบจำลอง ได้ถูกพัฒนาขึ้น อย่างแรกคือ Critical Path Model (CPM) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท DuPont Corporation และบริษัท Remington Rand Corporation เพื่อใช้สำหรับการจัดการในเรื่องของการบำรุงรักษาโรงงานอุตสาหกรรม แบบจำลองอีกแบบหนึ่งคือ Program Evaluation and Review Technique (PERT) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Booz Allen Hamilton ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาจรวดนำวิถี Polaris สำหรับเรือดำน้ำ[11] ซึ่งในเวลาต่อมาแบบจำลองทั้งสองได้ถูกนำไปใช้ในบริษัทต่างๆ อย่างรวดเร็ว

ในช่งเวลาเดียวกันนั้นเทคโนโลยีในการประเมินราคาของโครงการ, การจัดการต้นทุนและเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดย Hans Lang และบุคคลอื่นๆ ในปี ค.ศ. 1956 American Association of Cost Engineers (ปัจจุบันคือ AACE International; Association for the Advancement of Cost Engineering) ได้ถูกตั้งขึ้นและดำเนินงานเรื่อยมาจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2006 ได้เผยแพร่ Total Cost Management ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติแบบครบวงจรในการจัดการโครงการ

ในปี ค.ศ. 1967 องค์กรที่ชื่อว่า International Project Management Association (IPMA) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในทวีปยุโรป [12] โดยสมาคมสำหรับการจัดการโครงการต่างๆ เพื่อเป็นองค์กรกลางในการวางโครงสร้างและดูแลโครงสร้างสำหรับการจัดการโครงการ IPMA ได้มีการออกใบประกาศนียบัตร 4 ระดับ โดยยึดจาก IPMA Competence Baseline (ICB).[13]

ในปี ค.ศ. 1967 องค์กรที่ชื่อว่า Project Management Institute (PMI) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา [14] และได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK) ซึ่งได้อธิบายแนวทางการปฏิบัติในการจัดการโครงการซึ่งโดยพื้นฐานคือ "most projects, most of the time." PMI ได้แบ่งใบประกาศนียบัตรออกเป็นหลายระดับ

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์