การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา

'การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (อังกฤษ: Library of Congress Classification, ย่อ: LCC) เป็นระบบการจัดหมู่ของห้องสมุดที่หอสมุดรัฐสภาพัฒนาขึ้น หอสมุดวิจัยและวิชาการส่วนมากในสหรัฐและอีกหลายประเทศใช้ระบบดังกล่าว ในประเทศเหล่านี้ ห้องสมุดสาธารณะส่วนมากและห้องสมุดวิชาการขนาดเล็กยังใช้การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ที่เก่ากว่า[1]เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Herbert Putnum) ประดิษฐ์การจำแนกนี้ใน ค.ศ. 1897 ไม่นานก่อนเขาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์รัฐสภา ด้วยคำแนะนำจากชาลส์ แอมมี คัตเตอร์ (Charles Ammi Cutter) ได้รับอิทธิพลจากการจำแนกขยายคัตเตอร์ (Cutter Expansive Classification) ของเขา, ระบบทศนิยมดิวอี้และระบบการจัดหมู่พัทนัม (Putnam Classification System)[2][3] ระบบนี้ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อความมุ่งหมายและการเก็บรวบรวมของหอสมุดรัฐสภาเพื่อแทนระบบที่ตั้งถาวรที่ทอมัส เจฟเฟอร์สันพัฒนา เมื่อพัทนัมออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1939 ทุกหมวดใหญ่ยกเว้น K (กฎหมาย) และบางส่วนของ B (ปรัชญาและศาสนา) ได้รับพัฒนาดีแล้วLCC ถูกวิจารณ์ว่าขาดรากฐานทางทฤษฎีที่สมเหตุสมผล การตัดสินใจจัดหมู่หลายอย่างมาจากความต้องการทางปฏิบัติของหอสมุดมิใช่การจัดหมู่แบบญาณวิทยา แม้ระบบนี้แบ่งเรื่องเป็นประเภทใหญ่ ๆ แต่มีสภาพแท้จริงแล้วแจงนับ คือ ระบบนี้ชี้นำไปยังหนังสือที่มีอยู่ในการเก็บรวบรวมของห้องสมุดหนึ่ง ๆ มิใช่การจัดหมู่ของโลก

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์