การจับยึดนิวตรอน
การจับยึดนิวตรอน

การจับยึดนิวตรอน

การจับยึดนิวตรอน (อังกฤษ: Neutron capture) เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบหนึ่งที่ นิวเคลียสของอะตอม หนึ่งตัวและ นิวตรอน หนึ่งตัวหรือมากกว่ามีการชนกันและรวมเข้าด้วยกันทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสตัวใหม่ที่หนักขึ้น[1] เนื่องจากนิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า พวกมันจึงสามารถแทรกตัวเข้าสู่นิวเคลียสได้ง่ายกว่าโปรตอนประจุบวก ซึ่งจะถูกไล่ออกไปโดยไฟฟ้าสถิต[1]การจับยึดนิวตรอนมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์นิวเคลียสโดยรังสีคอสมิกของธาตุที่หนัก ในดวงดาว มันสามารถเกิดขึ้นในสองวิธี ได้แก่ กระบวนการอย่างรวดเร็ว (r-process) หรือกระบวนการอย่างช้า (s-process)[1] นิวเคลียสของมวลที่มากกว่า 56 ไม่สามารถเกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ความร้อนได้ (เช่นโดยนิวเคลียร์ฟิวชัน) แต่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการจับยึดนิวตรอน[1]

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์