พยาธิสรีรวิทยา ของ การฉีกเซาะของเอออร์ตา

เหตุการณ์แรกสุดที่เกิดขึ้นทำให้มีการฉีกเซาะของเอออร์ตาคือการฉีกขาดของชั้นเยื่อบุอินทิมาของเอออร์ตา จากการที่เลือดในเอออร์ตามีความดันสูงทำให้เลือดแทรกเข้ามาในชั้นมีเดียตรงตำแหน่งที่เกิดการฉีกขาด แรงดันของเลือดที่ไหลเข้ามานี้ทำให้รอยฉีกขาดฉีกออกไปมากขึ้น อาจฉีกเพิ่มไปทางด้านต้น (proximal) หรือด้านปลาย (distal) เลือดจะไหลไปตามทางภายในชั้นมีเดียเกิดเป็นช่องปลอมภายในหลอดเลือด (false lumen) โดยที่ช่องจริง (true lumen) ก็คือช่องทางปกติของเอออร์ตา โดยมีชั้นเนื้อเยื่ออินทิมาแบ่งแยกระหว่างช่องจริงกับช่องปลอม เนื้อเยื่อของอินทิมานี้เรียกว่าแผ่นเนื้อเยื่ออินทิมา (intimal flap)

การฉีกเซาะของเอออร์ตาส่วนใหญ่เริ่มขึ้นในเอออร์ตาส่วนขาขึ้น 65%, โค้งเอออร์ตา 10% และตำแหน่งของเอออร์ตาขาลงส่วนช่องอกบริเวณถัดจาก ligamentum arteriosum 20%

เลือดที่ไหลในช่องปลอมนี้อาจทำให้เกิดการฉีกขาดซ้ำสองขึ้นเป็นช่องทางให้เลือดไหลกลับเข้ามาในช่องจริงได้

แม้หลายๆ ครั้งจะไม่ปรากฏสาเหตุชัดเจนของการเกิดการฉีกขาดของชั้นอินทิมา แต่ส่วนใหญ่เป็นจากการเสื่อมของคอลลาเจนและอีลาสตินที่ประกอบขึ้นเป็นชั้นมีเดีย เรียกว่า cystic medial necrosis และมักพบร่วมกับกลุ่มอาการมาร์แฟน และกลุ่มอาการเอห์เลอส์-แดนลอส

ประมาณ 13% ของการฉีกเซาะของเอออร์ตาพบว่าไม่มีการฉีกขาดของอินทิมา เชื่อกันว่าแบบนี้เกิดจากการมีก้อนเลือดในผนังหลอดเลือด (intramural hematoma) ที่เกิดจากการมีเลือดออกในชั้นมีเดีย (hemorrhage within the media) และเนื่องจากกรณีนี้จะไม่มีทางเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างช่องจริงกับช่องปลอม ทำให้ยากที่จะวินิจฉัยการฉีกเซาะของเอออร์ตาแบบนี้จาก aortography การฉีกเซาะของเอออร์ตาที่เกิดจากการมีก้อนเลือดในผนังหลอดเลือดนี้ควรได้รับการรักษาเช่นเดียวกันกับชนิดที่เกิดจากการฉีกขาดของชั้นอินทิมา

ใกล้เคียง

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในฮ่องกง การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิหร่าน การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม การฉีกเซาะของเอออร์ตา การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในดินแดนปาเลสไตน์ การฉีดยาให้ตาย การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฉีกเซาะของเอออร์ตา http://www.aorticdissection.com/ http://www.diseasesdatabase.com/ddb805.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic28.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=441.... http://rad.usuhs.edu/medpix/master.php3?mode=facto... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14261867 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5458238 http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.americanheart.org/presenter.jhtml?ident...