กรณีอื้อฉาว ของ การฉีดวัคซีนโควิด-19_ในประเทศไทย

การใช้วัคซีนไม่ตรงตามแนวทางรักษา

วันที่ 20 พฤษภาคม มีข่าวว่ากรมควบคุมโรคชี้แจงว่าในวัคซีนแอสตราเซเนกา 1 ขวด ซึ่งกำหนดให้ใช้ 10 โดส สามารถดูดได้ 12 โดส ซึ่งอ้างว่าจะช่วยให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศเร็วขึ้น[83]

วันที่ 23 พฤษภาคม ยง ภู่วรวรรณเสนอให้ผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคฉีดวัคซีนสลับชนิดกัน หลังมีข่าวว่าประเทศตะวันตกไม่ยอมรับวัคซีนของจีน[84]

ในเดือนมิถุนายน มีข่าวว่ากรมควบคุมโรคมีแนวทางให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 16 สัปดาห์ ขณะที่คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ฉีดเว้นห่างกันเกิน 12 สัปดาห์[85]

การรวมศูนย์อำนาจที่นายกรัฐมนตรีหรือ ศบค.

วันที่ 27 เมษายน 2564 มีข่าวว่า คณะรัฐมนตรีโอนอำนาจเกี่ยวกับการรับมือโควิด-19 ให้แก่นายกรัฐมนตรี[86] ในเดือนมิถุนายน 2564 อนุทิน ชาญวีรกุลยืนยันว่าปัญหาบางโรงพยาบาลได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอนั้น ไม่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข แต่ขึ้นอยู่กับ ศบค.[87]

การกำหนดราคาของวัคซีน

วันที่ 12 กรกฎาคม องค์การเภสัชกรรม แถลงการณ์โต้โซเชียล แจงปมราคานําเข้า "วัคซีนโมเดอร์นา" ในราคา 584 บาทต่อโดส ไม่เป็นความจริง [88]

ใกล้เคียง

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในฮ่องกง การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิหร่าน การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การฉีกเซาะของเอออร์ตา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในดินแดนปาเลสไตน์ การฉีดยาให้ตาย การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฉีดวัคซีนโควิด-19_ในประเทศไทย //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://coconuts.co/bangkok/news/iconsiam-guard-ac... https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915653 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/929077 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930452 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940295 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940402 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/942502 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945040 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/946590