การช็อกทางวัฒนธรรม
การช็อกทางวัฒนธรรม

การช็อกทางวัฒนธรรม

การช็อกทางวัฒนธรรม หรือ ความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม (อังกฤษ: culture shock) คือประสบการณ์ที่บุคคลหนึ่งอาจมีเมื่อบุคคลนั้นย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่ต่างกับสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมของตน นอกจากนี้ยังเป็นความสับสนที่บุคคลหนึ่งอาจรู้สึกเมื่อประสบกับวิถีชีวิตที่ไม่คุ้นเคยอันเนื่องมาจากการย้ายถิ่นเข้าหรือการไปเยือนประเทศใหม่ การย้ายไปมาระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ต่างกัน หรือการปรับเปลี่ยนไปใช้ชีวิตแบบอื่น[1] หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของการช็อกทางวัฒนธรรมเกี่ยวพันกับปัจเจกบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างแดน เราอาจอธิบายได้ว่าการช็อกทางวัฒนธรรมประกอบด้วยระยะที่แตกต่างกันอย่างน้อยหนึ่งในสี่ระยะ ได้แก่ ความหวานชื่น การต่อรอง การปรับแก้ และการปรับตัว[2][3]ปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะข้อมูลท่วมท้น กำแพงภาษา ช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างทางเทคโนโลยี การพึ่งพาทักษะซึ่งกันและกัน อาการคิดถึงบ้าน (ทางวัฒนธรรม) ความเบื่อหน่าย (การขึ้นอยู่ระหว่างกันของงาน) และความสามารถในการตอบสนอง (ชุดทักษะทางวัฒนธรรม)[4] เป็นต้น ไม่มีวิธีที่แท้จริงในการป้องกันการช็อกทางวัฒนธรรมได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากปัจเจกบุคคลในสังคมใด ๆ ก็ตามได้รับผลกระทบจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมในรูปแบบและระดับที่แตกต่างกันไป[5]

ใกล้เคียง

การช็อกทางวัฒนธรรม การช็อกกระตุ้นหัวใจ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชำระเลือดผ่านเยื่อ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชันสูตรพลิกศพ การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547