ตัวแปรเป้าหมาย ของ การตรวจปัสสาวะ

ไออน และ trace metals

เป้าหมายค่าต่ำค่าสูงหน่วยวัดความเห็น
Nitriteไม่มีข้อมูล0 / ให้ผลลบ[2]การตรวจพบไนไตรทในปัสสาวะสามารถบ่งบอกได้ว่ามีแบคทีเรีย coliform ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ นอกจากนี้ การตรวจวิเคราะห์อย่างอื่น เช่น leukocyte esterase, จำนวนเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ รวมทั้ง อาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะแสบขัด (dysuria) ปัสสาวะต้องรีบ (urgency) มีไข้และหนาวสั่น ก็เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อได้เช่นกัน
Sodium (Na) - ต่อวัน150[3]300[3]mmol / 24 ชั่วโมงการตรวจวิเคราะห์ระดับโซเดียมเป็นสิ่งที่จำเป็นระหว่างการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการขับถ่ายโซเดียมในรูปแบบ FeNa เป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการแยกภาวะก่อนไตวายและหลังไตวาย
Potassium (K) - ต่อวัน40[3]90[3]mmol / 24 ชั่วโมงการตรวจวิเคราะห์ระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะอาจจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) ในกรณีของการสูญเสียโพแทสเซียมในระบบทางเดินอาหารจะทำให้ระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำ ส่วนในกรณีการสูญเสียโพแทสเซียมจากไตนั้น ระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะจะสูง การลดลงของระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะสามารถพบได้ใน hypoaldosteronism และ adrenal insufficiency
Urinary calcium (Ca) - ต่อวัน15[4]20[4]mmol / 24 ชั่วโมงระดับแคลเซียมที่สูงอย่างผิดปกติ เรียกว่า ภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง (hypercalciuria) ส่วนระดับแคลเซียมที่ต่ำอย่างผิดปกติ เรียกว่า ภาวะแคลเซียมในปัสสาวะต่ำ (hypocalciuria)
ดูข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม : แคลเซียมในปัสสาวะ (Urinary calcium)
100[4]250[4]mg / 24 ชั่วโมง
Phosphate (P) - ต่อวันไม่มีข้อมูล[3]38[3]mmol / 24 ชั่วโมงภาวะ Phosphaturia คือ การขับถ่ายฟอสเฟตในระดับสูงผ่านปัสสาวะสามารถแบ่งออกเป็นชนิดหลัก (primary) และชนิดรอง (secondary) โดยภาวะ Primary hypophosphatemia คือ การขับถ่ายฟอสเฟตโดยตรงจากไตซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ไตเป็นหลัก รวมทั้ง อาจเป็นผลที่เกิดจากยาขับปัสสาวะหลายชนิดที่มีผลต่อไตด้วย นอกจากนี้ สาเหตุของชนิดรอง รวมทั้ง ภาวะ hyperparathyroidism เกิดจากการขับถ่ายฟอสเฟตระดับสูงในปัสสาวะ

สำหรับค่า fractional sodium excretion ที่เป็นค่าร้อยละของการกรองโซเดียมโดยไตซึ่งถูกจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้สำหรับภาวะไตวายเฉียบพลันและภาวะปัสสาวะออกน้อย (Oliguria) โดยถ้าค่าที่ได้ต่ำกว่า 1% บ่งบอกว่าเกิด prerenal disease และถ้าค่าสูงกว่า 3%[5] บ่งบอกถึงภาวะ acute tubular necrosis และการเกิดความเสียหายที่ไต

โปรตีนและเอนไซม์

เป้าหมายค่าต่ำค่าสูงหน่วยวัดความเห็น
Protein0ปริมาณน้อยมาก[2]
/ 20
mg/dLโปรตีนอาจวัดได้ด้วยวิธี Albustix Test เนื่องจากโปรตีนเป็นโมเลกุลที่ใหญ่มาก ดังนั้น ในภาวะปกติ เราจึงไม่สามารถตรวบพบโปรตีนได้ในปัสสาวะ การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) จึงบอกได้ถึงความผิดปกติของการกรองโดย glomerulus โดยอาจเกิดจากสาเหตุของการติดเชื้อที่ไตหรือเป็นผลที่เกิดจากโรคอื่นแต่ส่งผลกระทบมาที่ไตได้ เช่น เบาหวาน ดีซ่าน หรือ ภาวะ hyperthyroidism
ดูที่ โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria)
hCG
ในผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
-50[6]U/Lฮอร์โมนนี้สามารถพบได้ในสตรีตั้งครรภ์ สามารถตรวจโดยใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์โดยทั่วไป

เซลล์เม็ดเลือด

เป้าหมายค่าต่ำค่าสูงหน่วยวัดความเห็น
เม็ดเลือดแดง0[2][7]2[2] - 3[7]ต่อ
High Power Field
(HPF)
RBC castsไม่มีข้อมูล0 / ผลลบ[2]
เม็ดเลือดขาว0[2]2[2] / ผลลบ[2]
-10ต่อ µl หรือ
mm3
ภาวะปัสสาวะมีหนอง (pyuria) สามารถตรวจพบเม็ดเลือดขาว 10 เซลล์หรือมากกว่า ต่อ ไมโครลิตร (µl) หรือ cubic millimeter (mm3)
เลือดไม่มีข้อมูล0 / ให้ผลลบ[2]เลือดเพียงปริมาณเล็กน้อยก็สามารถทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือชมพูได้ ดังนั้น มันจึงเป็นการยากที่จะตัดสินว่ามีการเลือดอกโดยการตรวจอย่างหยาบ ๆ (gross examination) สีของปัสสาวะที่เปลี่ยนเป็นสีแดงอาจเกิดจากการหลั่งของเม็ดสี เช่น myoglobin และฮีโมโกลบิน สามารถพบในกรณีที่ตรวจโดยการใช้แถบตรวจปัสสาวะแล้วให้ผลว่ามีเลือดแต่เมื่อนำปัสสาวะไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์กลับไม่พบว่ามีเม็ดเลือดแดง เมื่อพบว่ามีเม็ดเลือดในปัสสาวะควรจะตรวจค่า INR/PT/PTT รวมทั้งให้ส่งปัสสาวะที่เก็บมาใหม่ๆ สำหรับการส่งตรวจ

โมเลกุลอื่นๆ

เป้าหมายค่าต่ำค่าสูงหน่วยวัดความเห็น
กลูโคสไม่มีข้อมูล0 / ให้ผลลบ[2]กลูโคสสามารถวัดได้ด้วยวิธี Benedict's Test โดยปกติแล้วกลูโคสจะไม่สามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะเนื่องจากกลูโคสจะถูกดูดซึมจากท่อไตกลับไปยังเลือด การพบกลูโคสในปัสสาวะ เรียกว่า glucosuria
ดูที่ glucosuria
Ketone bodiesไม่มีข้อมูล0 / ให้ผลลบ[2]เมื่อร่างกายเกิดการขาดคาร์โบไฮเดรตหรือรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ร่างกายก็จะเผาพลาญไขมันเพื่อให้ได้พลังงาน กระบวนการเผาผลาญไขมันแบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้ (1) ไตรกลีเซอไรด์เปลี่ยนเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล (2) กรดไขมันเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีขนาดเล็ก (acetoacetic acid, betahydroxybutyric acid, และ acetone) (3) สารประกอบที่มีขนาดเล็กถูกใช้ในกระบวนการ aerobic cellular respiration เมื่อการสร้างสารประกอบในกระบวนการเผาผลาญกรดไขมัน (เรียกว่า ketone bodies) มากเกินความสามารถที่ร่างกายจะเผาผลาญได้ มันก็จะถูกสะสมไว้ใยเลือดและปัสสาวะ (ketonuria)
ดูที่ Ketonuria
บิลิรูบินไม่มีข้อมูล0 / ให้ผลลบ[2]phagocytic cell ของม้ามและไขกระดูมีหน้าที่ในการทำลายเม็ดเลือดเก่าและเปลี่ยน heme ของฮีโมโกลบินไปเป็นบิลิรูบินและจะถูกขับออกไปยังเลือดและถูกนำไปที่ตับเพื่อทำการจับกับ glucuronic acid จนกระทั่ง อยู่ในรูปของ conjugated form ซึ่ง conjugated form ของบิลิรูบินจะถูกขับไปยังเลือดและขับออกไปทางท่อน้ำดีผ่านไปยังลำไส้เล็ก โดยปกติแล้วเลือดจะมีปริมาณของบิลิรูบินเพียงเล็กน้อย ดังนั้น หากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงผิดปกติอาจเกิดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่มากขึ้น, เกิดความเสียหายที่ตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ตับแข็ง และอาจเกิดจากนิ่วอุดต้นที่ท่อน้ำดี การที่ร่างกายมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงนั้นจะทำให้เกิดภาวะดีซ่าน
ดูที่ Bilirubinuria
Urobilinogen0.2[2]1.0 [2]Ehrlich units
or mg/dL
Creatinine - per day4.8[3]19[3]mmol / 24 ช.ม.
Free catecholamines,
dopamine - per day
90 [8]420 [8]μg / 24 ช.ม.
Free cortisol28[9] or 30[10]280[9] หรือ 490[10]nmol/24 ช.ม.ค่าที่ต่ำกว่าปกติอาจจะเป็น Addison's disease ในขณะที่ค่าสูงกว่าปกติอาจเป็น Cushing's syndrome ค่าที่ต่ำกว่า 200 nmol/24 ช.ม. (72 µg/24 ช.ม.[11]) บ่งบอกว่าไม่เป็น Cushing's syndrome[10]
10[12] or 11[11]100[12] or 176[11]µg/24 ช.ม.
Phenylalanine30.0mg/L[13]ในการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดนั้น ถ้าพบค่าที่สูงกว่าปกติจะบ่งชี้ว่าเกิดภาวะ phenylketonuria[13]

ใกล้เคียง

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การตรวจพิจารณาในประเทศไทย การตรวจปัสสาวะ การตรวจการทำงานของตับ การตรึงพระเยซูที่กางเขน การตรวจสอบความปลอดภัยข้อมูล การตรวจลงตรา การตรวจเลือด การตรวจทั่วไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตรวจปัสสาวะ http://www.medscape.com/viewarticle/732914 http://www.redurine.com/medical_tests/urine_test.h... http://pathcuric1.swmed.edu/PathDemo/nrrt.htm http://clinlab.uch.edu/asp/test_review/reference_r... http://sitemaker.umich.edu/medical.history.intervi... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15791892 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?field=...