มโนทัศน์การตลาด ของ การตลาด

แนวคิดในยุคก่อน

แนวคิดการตลาดพัฒนามาจากแนวคิดในยุคก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือแนวคิดเน้นการผลิต เน้นผลิตภัณฑ์ และเน้นการขาย [2][3]

แนวคิดตัวขับเคลื่อน
ผลกำไร
กรอบเวลาของโลกตะวันตกการอธิบาย
การผลิต[3]วิธีการผลิตจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1950หน่วยธุรกิจที่เน้นการผลิตมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงทำให้หน่วยธุรกิจแสวงหาผลประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาดจนกว่าจะถึงขนาดการผลิตต่ำสุดที่มีประสิทธิภาพ แนวคิดเน้นการผลิตอาจสามารถนำมาใช้ได้เมื่ออุปสงค์ของสินค้าและบริการนั้น ๆ สูง กอปรด้วยความเชื่อมั่นที่ดีว่ารสนิยมของผู้บริโภคจะไม่เปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว (เหมือนกับแนวคิดเน้นการขาย)
ผลิตภัณฑ์[3]คุณภาพของผลิตภัณฑ์จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960หน่วยธุรกิจที่เน้นผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิต หน่วยธุรกิจก็ยังตั้งข้อสมมติว่าตราบเท่าที่ผลิตภัณฑ์ของตนมีมาตรฐานสูง ประชาชนจะซื้อและอุปโภคบริโภคผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
การขาย[3]วิธีการขายคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1960หน่วยธุรกิจที่เน้นการขายให้ความสำคัญต่อการขายและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่างเป็นหลัก และไม่สนใจว่าผู้บริโภคจะต้องการหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เกิดการขายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในตลาด และการใช้เทคนิคการส่งเสริมเพื่อให้บรรลุยอดขายสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ แนวคิดเน้นการขายอาจเหมาะกับสถานการณ์ที่หน่วยธุรกิจมีผลิตภัณฑ์เก่าเก็บอยู่ในคลังสินค้า หรือไม่ก็สถานการณ์ที่อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์สูง ซึ่งความเปลี่ยนแปรรสนิยมของผู้บริโภคที่จะทำให้อุปสงค์ลดลงมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย
การตลาด[3]ความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าคริสต์ทศวรรษ 1970 จนถึงปัจจุบันแนวคิดเน้นการตลาดอาจเป็นแนวคิดที่สามัญที่สุดที่ใช้ในการตลาดร่วมสมัย หน่วยธุรกิจที่เน้นการตลาดให้ความสำคัญกับการวางรากฐานแผนการตลาดในเรื่องมโนทัศน์การตลาด นำไปสู่การผลิตสินค้าที่ตรงตามรสนิยมของผู้บริโภครายใหม่ เพื่อที่จะทำเช่นนั้น หน่วยธุรกิจต้องทำการวิจัยการตลาดเพื่อประเมินความต้องการของตลาด ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อปรับให้เข้ากับสารสนเทศที่เผยออกมา และจากนั้นจึงใช้เทคนิคการส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนทราบว่าหน่วยธุรกิจมีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขายอยู่
การตลาด
องค์รวม
[1]
ทุกสิ่งสำคัญต่อการตลาดคริสต์ศตวรรษที่ 21การตลาดองค์รวมคือแนวคิดที่มองว่าการตลาดเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน และยอมรับว่าทุกสิ่งสำคัญต่อการตลาด มุมมองอย่างกว้างและครบวงจรมีความสำคัญต่อการพัฒนา การออกแบบ และการทำให้กิจกรรมและการดำเนินการทางการตลาดสัมฤทธิ์ผล องค์ประกอบสี่อย่างที่บ่งบอกถึงลักษณะการตลาดองค์รวมได้แก่ การตลาดความสัมพันธ์ การตลาดภายใน การตลาดครบวงจร และการตลาดรับผิดชอบต่อสังคม

แนวคิดสมัยใหม่

แนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่นี้ได้กล่าวรวมถึง การตลาดความสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ การตลาดเชิงธุรกิจหรือการตลาดเชิงอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นองค์กรหรือสถาบัน และการตลาดเชิงสังคมที่มุ่งเน้นประโยชน์ต่อสังคม [4] นอกจากนี้ การตลาดรูปแบบใหม่นี้ได้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกว่า การตลาดผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Marketing) หรืออีกหลายชื่อ ตัวอย่างเช่น การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-marketing), การตลาดออนไลน์ (online marketing), การตลาดดิจิตอล (digital marketing) ที่หมายถึงการตลาดผ่านเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search engine website), การโฆษณาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (desktop advertising) การตลาดยุคสมัยใหม่นี้พยายามทำกลยุทธ์การแบ่งกลุ่มลูกค้าให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการตลาดแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้มีความแม่นยำชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบางครั้งเรียกว่า การตลาดเฉพาะบุคคล (personalized marketing) หรือการตลาดแบบหนึ่งสินค้าต่อหนึ่งลูกค้า (one-to-one marketing) อีกประการหนึ่ง การตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นบางครั้งถูกพิจารณาในมุมกว้างมากขึ้น เพราะว่าการตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ได้หมายถึงการทำตลาดอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการตลาดผ่านอีเมล สื่อไร้สาย และการผลักดันผู้คนที่ได้บริโภคสื่ออย่างวิทยุ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ซึ่งเป็นการตลาดแบบดั้งเดิมเข้าไปสู่อินเทอร์เน็ตหรือหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ อีกด้วย

แนวคิดตัวขับเคลื่อน
ผลกำไร
กรอบเวลาของโลกตะวันตกคำอธิบาย
การตลาดความสัมพันธ์/การจัดการความสัมพันธ์[4]การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงปัจจุบันเน้นความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างผู้จัดจำหน่ายและลูกค้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการลูกค้าในสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมทั้งสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า
การตลาดเชิงธุรกิจ/การตลาดเชิงอุตสาหกรรมการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงปัจจุบันในการทำการตลาดระหว่างธุรกิจหรือองค์กรนั้น ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญจะเน้นด้านสินค้าที่ใช้ในอุตสหกรรม (Industrial goods) เช่น วัตถุดิบในการผลิต เป็นต้น หรือสินค้าประเภททุน (Capital goods) เช่น เครื่องจักรในการผลิต เป็นต้น โดยจะเน้นในสองประเภทนี้มากกว่าสินค้าอุปโภคบริโภค (customer products / end products) รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ ทั้งการจัดโปรโมชั่น การโฆษณา และการสื่อสารกับลูกค้านั้นก็จะแตกต่างกันด้วย
การตลาดเชิงสังคม[4]คุณประโยชน์ต่อสังคมคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงปัจจุบันมีคุณลักษณะคล้ายกับการทำการตลาดโดยทั่วไปแต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า จะต้องเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ลดความเป็นอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดต่อสังคม ทั้งตัวสินค้า กระบวนการผลิตสินค้า และกระบวนการขาย
การสร้างตราสินค้าหรือแบรนด์คุณค่าของตราสินค้าหรือแบรนด์คริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงปัจจุบันในบริบทนี้ การสร้างตราสินค้าหรือแบรนด์จะสะท้อนถึงปรัชญาของบริษัท และการตลาดเป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งของของการสร้างตราสินค้าด้วย

ใกล้เคียง

การตลาด การตลาดดิจิทัล การตลาดบนอินเทอร์เน็ต การตลาดแบบหลายระดับชั้น การตลาดระหว่างประเทศ การตลาดแบบปากต่อปาก การตลาดแบบแอบแฝง การตลาดทางอีเมล การตลาดแบบแชร์ลูกโซ่ การลาดตระเวน