การวิจัย ของ การถ่ายภาพเคอร์เลียน

การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้ถูกจัดให้เป็นหัวใจหลักในเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์, การวิจัยทางด้านจิตศาสตร์ซึ่งมีสาขาเฉพาะทางที่เรียกว่าวิชา "ปรจิตวิทยา" ซึ่งพวกเราคนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า "พลังจิต" (parapsychology research) และการกล่าวอ้างเกี่ยวกับเรื่องราวของ วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscientific) [14][15] ส่วนใหญ่ของการวิจัยทางด้านนี้ ได้ถูกริเริ่มดำเนินการขึ้นเมื่อราวประมาณกลางศตวรรษที่ 20 ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยอดีตของโลกทางฝ่ายกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ก่อนการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น (cold war) และยังไม่ได้ถูกยกระดับขึ้นเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดของโลกฝ่ายตะวันตก [ต้องการอ้างอิง]

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

จากผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1976 ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพเคอร์เลียนของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิต (จากปลายนิ้วของมนุษย์) พบว่าส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในความยาวของลำแสงของการปล่อยแบบโคโรนา, ความหนาแน่น, ความโค้งงอ และ สี สามารถถูกพิจารณาได้โดยสภาพความชื้นบนพื้นผิวและภายในของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านั้น [16] นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่นอกเหนือจากในสหรัฐอเมริกา ต่างก็ได้ดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

คอนสแตนติน โครอทคอฟ (Konstantin Korotkov) ได้พัฒนาเทคนิคคล้ายกับการถ่ายภาพเคอร์เลียน เรียกว่า "การสร้างภาพการปล่อยประจุของก๊าซ" (gas discharge visualization) (GDV) [17][18][19] ระบบกล้องโครอทคอฟ GDV (Korotkov's GDV camera system) ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะบันทึกข้อมูลโดยตรง, เพื่อทำการประมวลผลและแปลความหมายของภาพ GDV ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ของโครอทคอฟ ได้โฆษณาส่งเสริมอุปกรณ์และการวิจัยของเขาในบริบททางการแพทย์ [20][21] อิซาเบลลา ไชสิเอลสกา (Izabela Ciesielska) แห่งสถาบันสถาปัตยกรรมสิ่งทอในประเทศโปแลนด์ ได้ใช้กล้องโครอทคอฟ GDV เพื่อประเมินผลกระทบของการสัมผัสของมนุษย์กับสิ่งทอต่าง ๆ เกี่ยวกับปัจจัยทางชีวภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต, ตลอดจนถึงภาพถ่ายการปล่อยประจุแบบโคโรน่า

ใกล้เคียง

การถ่ายโอนสัญญาณ การถ่ายภาพจอประสาทตา การถ่ายเทยีน การถ่ายเทความร้อน การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน การถ่ายเลือด การถ่ายภาพเคอร์เลียน การถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณต่อเนื่อง การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การถ่ายภาพเคอร์เลียน http://www.medicalbiophysics.dir.bg/en/kirlian_eff... http://www.huffingtonpost.com/2012/07/23/artist-ro... http://www.colorado.edu/philosophy/vstenger/Medici... http://adsabs.harvard.edu/abs/1986RaEl...31..625B //doi.org/10.1063%2F1.1662715 //doi.org/10.1126%2Fscience.968480 http://ieeexplore.ieee.org/xpl/login.jsp?tp=&arnum... http://korotkov.org/category/medicine/ http://www.o8ode.ru/article/eng/engl/kirlian.htm https://www.ph.utexas.edu/~coker2/index.files/kirl...