การใช้ทางการแพทย์ ของ การถ่ายเลือด

ในอดีต การถ่ายเม็ดเลือดแดงพิจารณาเมื่อระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตร หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงในเลือด (ฮีมาโทคริต) ต่ำกว่า 30% ("กฎ 10/30")[1][2] แต่เนื่องจากเลือดแต่ละหน่วยที่ให้มีความเสี่ยง ปัจจุบันปกติจึงใช้ระดับต่ำกว่า 7–8 กรัมต่อเดซิลิตรเพราะแสดงแล้วว่ามีผลลัพธ์ผู้ป่วยดีกว่า[3] การให้เลือดหนึ่งยูนิตเป็นมาตรฐานสำหรับบุคคลที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ตกเลือด โดยการรักษานี้ตามด้วยการประเมินซ้ำและการพิจารณาอาการและความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน[3] ผู้ป่วยที่มีความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำอาจต้องการเลือดเพิ่ม[3] มีคำเตือนแนะนำให้ใช้การถ่ยเลือดเฉพาะภาวะเลือดจางที่่อนข้างรุนแรงเท่านั้น ส่วนหนึ่งจากหลักฐานว่าผลลัพธ์เลวลงหากให้เลือดปริมาณมากขึ้น[4] แพทย์อาจพิจารณาถ่ายเลือดแก่บุคคลที่มีอาการของโรคหัวใจหลอดเลือด เช่น เจ็บอกหรือหายใจสั้น[2] ในกรณีที่ผู้ป่วยมีฮีโมโกลบินระดับต่ำแต่ระบบหัวใจหลอดเลือดเสถียร เหล็กโดยฉีด (parenteral iron) เป็นทางเลือกที่แนะนำโดยอิงประสิทธิพลังและความปลอดภัย[5] ให้ผลิตภัณฑ์ของเลือดอื่นตามความเหมาะสม เช่น การขาดปัจจัยเลือดจับลิ่ม.

ใกล้เคียง

การถ่ายโอนสัญญาณ การถ่ายภาพจอประสาทตา การถ่ายเทยีน การถ่ายเทความร้อน การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน การถ่ายเลือด การถ่ายภาพเคอร์เลียน การถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณต่อเนื่อง การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การถ่ายเลือด http://www.gasche.at/pdf/IBD_Journal_2007.pdf http://www.transfusionevidencelibrary.com/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17985376 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22454395 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23281973 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://www.choosingwisely.org/doctor-patient-lists... http://hm.cochrane.org/our-reviews http://injuries.cochrane.org/