การทดลองหนูน้อยอัลเบิร์ต
การทดลองหนูน้อยอัลเบิร์ต

การทดลองหนูน้อยอัลเบิร์ต

การทดลองหนูน้อยอัลเบิร์ต (อังกฤษ: Little Albert experiment) เป็นกรณีศึกษาแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ของการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมในมนุษย์ การศึกษานี้ยังเป็นตัวอย่างหนึ่งของการวางนัยทั่วไปสิ่งเร้า การทดลองมีขึ้นใน ค.ศ. 1920 โดยผู้ทดลอง จอห์น บี. วอตสัน ร่วมกับโรซาลี เรย์เนอร์ ผู้ช่วย ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์จอห์น บี. วอตสันรู้สึกสนใจที่จะหาหลักฐานสนับสนุนความคิดของเขาที่ว่า ปฏิกิริยาของเด็ก ไม่ว่าจะได้ยินเสียงดังเมื่อใดก็ตาม ถูกกระตุ้นจากความกลัว ยิ่งไปกว่านั้น เขาให้เหตุผลว่า ความกลัวนี้เป็นสันดานหรือเป็นการตอบสนองโดยไม่มีเงื่อนไข เขารู้สึกว่า ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม เขาสามารถวางเงื่อนไขให้เด็กกลัวสิ่งเร้าอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกันซึ่งโดยปกติแล้วเด็กจะไม่กลัวได้

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองของมิลแกรม การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน